ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด

ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด



วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด
โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร


เมื่อวงจรธุรกิจหมุนซ้ำๆ แล้วมีเงินสดเพิ่มมากขึ้น เราจึงเรียกว่า “กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร” สิ่งที่สำคัญในการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คือ การใช้เงินทุนปริมาณน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำให้กระแสเงินสดสำหรับการบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

กำไร คือส่วนต่างของยอดขาย (ยอดขายค้างรับ) กับค่าใช้จ่าย (ต้นทุนสินค้า) โดยปกติแล้วจะคำนวณกำไรเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า แต่ทว่าการเก็บเงินจากยอดขายค้างรับจะทำหลังจากนั้น ทำให้การคำนวณกำไรกับการเพิ่มขึ้นของเงินสดมีจังหวะที่ต่างกัน

ในกรณีที่กำไรกับกระแสเงินสดสำหรับการบริหารมีความแตกต่างกันมาก เมื่อมีกำไรเกิดขึ้น ก็เอาเงินที่ได้จากการขายไปใช้เสียหมด และเมื่อผลิตสินค้าที่เหมือนกันอีกครั้งหนึ่ง ก็ปรากฎว่าครั้งนี้ขายไม่ได้เลย แต่ต้องปิดบัญชี ถึงตอนนี้ในมือไม่มีเงินสดคงเหลืออยู่ แต่ทว่าทางการบัญชีกลับปรากฎว่ามีกำไรเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะขายสินค้าหมด แต่ไม่สามารถเก็บยอดขายค้างรับได้เลย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะเหมือนกัน ดังนั้น การที่มีกำไร (เป็นบวก) กับการที่มีเงินสดอยู่ในมือเป็นคนละเรื่อง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ตารางที่อธิบายการเพิ่มลด และยอดคงเหลือของเงินสดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า ตารางกระแสเงินสด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

1. กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร (Cash Flow /CF การบริหาร)

ในวงจรธุรกิจ เราเรียกเงินสดที่เพิ่มขึ้นว่า “CF การบริหาร” หมายถึง มูลค่าที่เกิดจากการนำค่าเสื่อมราคาบวกเข้ากับกำไร (ยอดขาย-ค่าใช้จ่าย) งวดนี้ จากนั้นนำส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนดำเนินการ (สินค้าคงคลัง+ยอดขายค้างรับ-ยอดซื้อค้างจ่าย) ไปหักออก การที่เอาค่าเสื่อมราคาบวกเข้าไปด้วย เหตุผลก็คือ ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ทำให้เกิดการจ่ายเงินสดออกไปนั่นเอง หมายความว่า ถ้าหากว่าเงินทุนดำเนินการมีเพิ่มขึ้นมากกว่า กำไร+ค่าเสื่อมราคา (เรียกว่า กำไรเงินสด) ก็จะทำให้ CF การบริหารติดลบ จึงอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “บัญชีถูกต้อง แต่เงินสดไม่พอ”

2. กระแสเงินสดสำหรับการลงทุน (Cash Flow /CF การลงทุน)

การรับหรือจ่ายเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินถาวร เรียกว่า “CF การลงทุน” ในทางรูปธรรมจะมีการซื้อหรือขายเครื่องจักรอุปกรณ์ อาคาร ที่ดิน หุ้นของบริษัทลูก การซื้อขายหุ้นที่มีอยู่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการลงทุน การให้กู้ หรือคืนเงินกู้ให้บริษัทลูก เป็นต้น บริษัทที่มีความแข็งแกร่งจะมีการดำเนินกิจกรรมการลงทุนอย่างจริงจัง ดังนั้นค่าตัวเลขนี้มักจะติดลบ หรือเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทพยายามจะไม่ลงทุน CF การบริหาร ก็จะลดน้อยลง บริษัทจะอยู่ต่อไปได้อย่างน้อยที่สุดจำเป็นต้องมีรายจ่ายเพื่อการลงทุนให้ เพียงพอที่จะรักษาสภาพปัจจุบันไว้ ตัวเลขที่ได้จากการนำ CF การลงทุน ไปลบออกจาก CF การบริหาร เรียกว่า “Free Cash Flow (FCF)” ในการบริหารกระแสเงินสดนั้น โดยหลักแล้ว FCF จะต้องมีสภาพเป็นบวก หมายความว่า “ผู้บริหารควรจะทำให้ CFC การบริหารมีมากที่สุด แล้วทำการลงทุนที่มีประสิทธิผลภายในกรอบนั้น ๆ”

3. กระแสเงินสดทางการเงิน (Cash Flow /CF ทางการเงิน)

การกู้เงินจากธนาคาร การออกพันธบัตรบริษัท การออกหุ้น (เพิ่มทุน) การจ่ายเงินปันผล การซื้อหุ้นบริษัทตัวเอง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการรับจ่ายเงินสดเพื่อการสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ จึงเรียกว่า “CF ทางการเงิน” ถ้ามองจากจุดยืนของการบริหารกระแสเงินสด การลงทุนควรจะอยู่ภายในกรอบของ CF การบริหาร แต่ทว่า การลงทุนซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือการซื้อกิจการบริษัทลูก ยอดเงินเพียงเท่านั้นคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องจัดหาจากการกู้ยืมธนาคารหรือการเพิ่มทุน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย
 : หนังสือ “ร้านไหนกำไรมากกว่ากัน” โดย Atsumu Hayashi แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์
 925
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์