การตรวจสอบทุจริต 7 สัญญาณเตือนและเทคนิคการตรวจสอบที่ได้ผล

การตรวจสอบทุจริต 7 สัญญาณเตือนและเทคนิคการตรวจสอบที่ได้ผล


การตรวจสอบทุจริต คือเครื่องมือพิชิตคนคิดทำลายองค์กร!

จากอดีตถึงปัจจุบันปัญหาที่ทุกองค์กรจะพบคือ ‘การทุจริต’ โดยจะมีบุคคลที่ส่อแววว่าจะทำการทุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาทุจริตจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบระบบภายใน ระบบการเงินอยู่เสมอ เพื่อป้องกันช่องว่างที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นฉวยโอกาส ฉะนั้นเราลองมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกันดีกว่า

ทำการตรวจสอบอย่างมีระบบจะช่วยให้จบปัญหาได้ไวขึ้น 

หากมีเรื่องราวเกี่ยวกับการทุจริตมาเข้าหูคุณ อันดับแรกคืออย่าเพิ่งแตกตื่น ให้คุณค่อยๆ สังเกตพฤติกรรม และเริ่มทำแผนการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ผู้ร้ายรู้ตัว โดยคุณต้องเริ่มจากให้ผู้ตรวจสอบรู้รายละเอียด ความชัดเจนว่าต้องการตรวจสอบเรื่องอะไร ใช้เวลาเท่าไหร่ในการหาหลักฐานต่างๆ โดยแผนการตรวจสอบการทุจริตก็จะคล้ายๆ กับแผนการตรวจสอบ (Audit program) โดยทั่วไป แต่จะเน้นในเชิงบรรยายความในเรื่องที่ต้องลงลึก มีความละเอียดในการตรวจสอบมากกว่า โดยรายละเอียดประกอบด้วย

 1.การกำหนดประเด็นหรือเรื่องที่จะตรวจสอบเรียงลำดับก่อนหลัง

 2.กำหนดวัน เวลา และวิธีการตรวจสอบในแต่ละเรื่อง และการอ้างอิงเอกสารที่ใช้ตรวจสอบ

7 สัญญาณเตือนการกระทำทุจริต 

หากมีการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กร ส่วนใหญ่มักจะไม่พ้นเรื่องการเงิน การบัญชี เราจึงได้รวบรวม 8 สัญญาณที่เข้าข่ายบ่งชี้ว่าเริ่มจะมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรของคุณแล้วล่ะ 

1.การจ่ายเงินที่ซับซ้อนหลายครั้งจนทำให้เกิดความสับสนในการตรวจสอบ 

2.แก้ไขตัวเลขราคา ปริมาณ ฯลฯ ในเอกสารสำคัญ 

3.จงใจปรับเปลี่ยนสัญญาซื้อขาย 

4.มีการปลอมแปลงเอกสารใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน 

5.สั่งซื้อของที่ตนอยากได้แต่ในใบสั่งซื้อคือของที่องค์กรต้องการ 

6.ขโมยเอกสารสำคัญภายในไปให้แก่บุคคลที่ 3 

7.สั่งซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น ลงรายละเอียดสินค้าราคาแพงเกินจริง

เทคนิคการตรวจสอบที่ทำยังไงก็ได้ผลชัวร์ๆ

การสุ่มตรวจที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 

การสุ่มนี้จะช่วยให้ผู้ที่กระทำความผิดนั้น ไม่ทันได้ตั้งตัวที่จะทำการปลอมแปลงหรือปรับเปลี่ยนเอกสารสำคัญต่างๆ ได้ทันท่วงที 

นำข้อมูลทุกอย่างมาทำการเปรียบเทียบ 

การเปรียบเทียบข้อมูลจะทำให้ผู้ตรวจเห็นได้ชัดว่ามีการปรับเปลี่ยนข้อมูลทางด้านตัวเลข ฯลฯ หรือไม่ 

ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดการทุจริต 

ลองย้อนดูว่าองค์กรของคุณมีภาวะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการทุจริตหรือไม่ ซึ่งปัจจัยการทุจริตจะมีด้วยกัน 5 ข้อใหญ่ๆ คือ 

1.การมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานไม่เหมาะสม ไม่มีความเท่าเทียม 

2.ไม่มีระบบการควบคุม กำกับงานที่ดี

3.ขาดการติดตามรายงานผลประกอบการต่างๆ เป็นเวลานาน

4.ขาดระบบการตรวจสอบภายในองค์กร 

5.บุคคลผู้นั้นมีความโลภ 

การทุจริตทุกรูปแบบถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับองค์กรของตนเอง ดังนั้นการมีมาตรการที่ดี การตรวจสอบเอกสารสั่งซื้อหรือเอกสารสำคัญอยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้เกิดช่องโหว่ในการทุจริตลดน้อยลง แต่หากปัญหาบางอย่างเกินกำลังที่คุณจะจัดการ ก็คงต้องพึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายในมาช่วยเป็นกองกำลังเสริมอีกแรงแล้วล่ะ 


ที่มา : LINK
 612
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์