ยื่น บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นเมื่อไหร่

ยื่น บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นเมื่อไหร่


ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน

1. บอจ.5 คืออะไร

บอจ.5 หรือ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น คือ แบบแสดงรายละเอียดของผู้ถือหุ้น บอกถึง ใครถือหุ้นบ้าง แต่ละคนมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของอยู่เท่าไหร่ มีรายละเอียดสำคัญอยู่ 6 ข้อ ดังนี้

  • ชื่อ เลขทะเบียน ของบริษัท
  • วันที่ลงรายชื่อผู้ถือหุ้นในทะเบียน เช่น ข้อมูล ณ วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท หรือ ณ วันที่คัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
  • มูลค่าทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น และมูลค่าราคาพาร์ของหุ้น
  • จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  • รายละเอียดของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน สัญชาติ อาชีพ ที่อยู่ จำนวนหุ้นที่ถือและชำระแล้ว เลขหมายหุ้น วันที่ลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น เป็นต้น
  • วันที่นำส่งข้อมูล

2. นิติบุคคลไหนต้องยื่น บอจ.5 บ้าง

บอจ. 5 นั้นไม่ได้มีไว้ใช้สำหรับธุรกิจทุกประเภทนะคะ ถ้าเราเป็นแบบบุคคลธรรมดา หรือเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็จะไม่มีข้อมูล บอจ.5 ค่ะ


สรุปคือ บอจ.5 จะใช้แค่กับ “บริษัทจำกัด” เท่านั้นค่ะ และกฏหมายได้ระบุให้ “บริษัทจำกัด” ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นด้วย

3. บอจ. 5 ต้องยื่นเมื่อไร

สำหรับกิจการที่ปิดรอบบัญชี 31 ธันวาคมของทุกปี

“บริษัทจำกัด” ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

สมมติประชุมใหญ่วันสุดท้าย เมื่อ 30 เมษายน ก็จะต้องยื่น บอจ. 5 ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายนั่นเอง

ถ้าปิดรอบบัญชีอื่นๆ

กิจการที่ปิดรอบบัญชีอื่นๆ สมมติเป็นวันที 30 มิถุนายน ของทุกปี

นำส่งงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 31 ตุลาคม) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

แต่ถ้ายื่นไม่ทันอาจโดนเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท ต่อกรรมการ 1 คนเลยนะคะ


ขอบคุณที่มา : blog.cpdacademy.co

 1153
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการทำงานในธุรกิจเป็นอย่างมาก และยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมาก งานบัญชีถือเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมของธุรกิจ ชี้วัดสุขภาพทางการเงินขององค์กร ว่ามีกำไรขาดทุนมากน้อยเพียงใด ในยุคที่การตัดสินใจของลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำบัญชีบนกระดาษที่ใช้เอกสารจำนวนมากอาจทำให้ไม่ทันความต้องการ การมีเครื่องมือในการทำบัญชีเป็นตัวช่วยให้งานบัญชี รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมาก

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์