ภาษีเงินได้นิติบุคคล เรื่องต้องรู้ก่อนยื่น ภ.ง.ด. 51

ภาษีเงินได้นิติบุคคล เรื่องต้องรู้ก่อนยื่น ภ.ง.ด. 51


ภ.ง.ด. 51 ยื่นภาษีกลางปี   ภ.ง.ด. 51 คืออะไร

ภ.ง.ด 51 คือ  แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) โดยกำหนดให้ยื่นรายการภายในสองเดือนสุดนับแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบรอบระยะเวลาบัญชี

สำหรับรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน คือ เริ่มวันแรกในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี   

ยื่นเอกสาร  มีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายในสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี ตรงกับวัน 2 กันยายน ของทุกปี

ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากรได้ขยายกำหนดการยื่นแบบฯ ทุกประเภทภาษีออกไปอีก 8 วัน

ภ.ง.ด. 51 ยื่นภาษีกลางปี – เรื่องต้องรู้ก่อนยื่นภาษีกลางปี

สำหรับรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน คือ เริ่มวันแรกในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี  

ยื่นเอกสาร  สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม  ถึงวันที่ 31 สิงหาคม

ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน

ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 คือใคร มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ต้องแนบเอกสารหรือไม่

ไม่ต้องแนบเอกสาร เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) ซึ่งเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริง จะต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 นั้น มีสองวิธี คือ

1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ ใช้กับ บริษัทฯ ทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME STart Up 

2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก ใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

• บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย

ค่าปรับกรณียื่นแบบพ้นกำหนดระยะเวลา 

ค่าปรับอาญา – กรณี

          ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท แต่
          ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม  – กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ “เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

        1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
        2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
        3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ  จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี

ป.ล. ค่าปรับอาญาและเงินเพิ่มข้างต้น “ไม่สามารถถือเป็นรายจ่าย” ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

กรณียื่นภาษีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันควร 

กรณียื่นแบบและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ แล้วแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด

การแก้ไขกรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ขาดไปเกินกว่า 25% ให้ยื่นเพิ่มเติมก่อนยื่น ภ.ง.ด 50 ในเดือน พฤษภาคม

หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ
ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษี ที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
เกินกว่านั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนไม่เกินร้อยละ 20

บริษัทมีกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี และทางภาษีอากรไม่เท่ากัน ในการประมาณการกำไรสุทธิ ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากยอดใด

การประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีอากร

ยื่นแบบฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามโครงการ “ทำธุรกรรมภาษีที่บ้าน” (TAX from Home) จะช่วยให้การทำธุรกรรมภาษีเป็นเรื่องง่ายที่ www.rd.go.th ทั้งการลงทะเบียน ( e-Registration ) การยื่นแบบฯ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ( e-Filing ) การชำระภาษี ( e-Payment ) ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย”

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.51 >> Click


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : www.beeaccountant.com,http://www.rd.go.th/

 297
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
ผู้ทำบัญชี อย่าลืม “5 เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎมาย”
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์