วงจรในการจัดทำบัญชี

วงจรในการจัดทำบัญชี



ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ความเข้าใจในลักษณะของธุรกิจ

ถึงการจะจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องได้นั้น หัวใจสำคัญคือนักบัญชีต้องมีความเข้าใจในธุรกิจก่อน ธุรกิจที่เราจะต้องจัดทำบัญชีนั้นเป็นธุรกิจประเภทไหน ซื้อมาขายไป ผลิตสินค้า บริการ หรือธุรกิจเฉพาะ เช่นอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล แบบนี้เป็นต้น ดังนั้นเมื่อบริษัทรับพนักงานบัญชีจบใหม่เข้ามาทำงาน ทางหัวหน้างานควรแนะนำให้ความรู้ลักษณะของธุรกิจแก่พนักงานบัญชีจบใหม่

2. ความเข้าใจโครงสร้างองค์กร/ฝ่ายและแผนกต่าง ๆ

ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะงานบัญชีต้องมีการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน ดังนั้นพนักงานบัญชีจบใหม่ เมื่อเข้ามาทำงานจึงควรเรียนรู้โครงสร้าง หน้าที่งานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนก และทำความเข้าใจ

3. ความเข้าใจกระบวนทำงานในกิจกรรมงานต่างๆ ของแต่ละฝ่าย/แผนก

พนักงานบัญชีจบใหม่นั้นไม่ใช่เพียงต้องเข้าใจโครงสร้างองค์กร หน้าที่งานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนก แต่ต้องเข้าใจถึงกระบวนการทำงานด้วย ซึ่งตรงนี้คือการเชื่อมโยงที่ต้องนำองค์ความรู้เรื่องระบบบัญชี การควบคุมภายใน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกระบวนการมาประยุกต์กับการทำงานนั้นเอง

4. ความเข้าใจในโปรแกรมบัญชี สนับสนุนการทำงาน

ปัจจุบันนี้กระบวนการทำงานต่าง ๆ จะถูกสนับสนุนโดยการนำเครื่องมือ Tools > โปรแกรมบัญชี มาใช้ ดังนั้นการสอนการใช้โปรแกรมบัญชีให้กับพนักงานบัญชีจบใหม่จึงจำเป็น และต้องมีการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พนักงานบัญชีจบใหม่ที่จะปฏิบัติใช้งานได้อย่างถูกต้อง (ดังนั้นโปรแกรมการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมบัญชี บริษัทควรมีการจัดการอบรมอย่างเป็นระบบ)

5. ความเข้าใจในวิธีการตรวจสอบ

นักบัญชีมีบทบาทหน้าที่สำคัญคือการตรวจสอบ ดังนั้นเรื่องที่ควรสอนนักบัญชีจบใหม่คือวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ทางบัญชีได้รับ ว่าควรตรวจสอบอย่างไร (การตรวจสอบคือ What วิธีการตรวจสอบคือ How to ) และควรสอนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ เมื่อเข้าใจในวัตถุประสงค์การตรวจสอบ ก็เข้าใจได้ง่ายว่าควรใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไร สำหรับวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบต้องเชื่อมั่นได้ว่าเอกสารหลักฐานที่ได้รับเพียงพอ เชื่อถือได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจนั่นเอง


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : https://www.dst.co.th/

 578
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
ใบเสนอราคา หรือ quotation คือเอกสารสำคัญสำหรับนักขาย และเจ้าเอกสารตัวนี้เองก็น่าจะเป็นอะไรที่นักขายทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การปิดดีลการขายเลยก็คงไม่เกินจริงไปนัก อย่างไรก็ตามนักขายจำนวนมากแม้จะรู้ว่าเจ้าใบเสนอราคานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เมื่อต้องทำเองหลายต่อหลายครั้งหากบริษัทไม่ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ นักขายเองก็มักจะออกใบเสนอราคาโดยไม่มี standard ที่ตายตัว นอกจากนี้ตัวนักขายเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับเจ้าใบนี้เท่าที่ควรด้วย
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์