บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร

บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร


หากได้ยินคำว่า “บัญชี” หลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการทำงานที่เกี่ยวกับบัญชี มักจะเข้าใจว่าเป็นเพียงการทำงานที่เกี่ยวกับเงินและตัวเลข แต่หากได้สัมผัสและรู้ถึงความจริงของนักบัญชี จะเข้าใจได้ว่า นักบัญชีนั้นเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถด้านการคิดคำนวณ ไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ เพื่อบันทึกรายการนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

ฉะนั้น ทักษะการคำนวณนั้นจึงเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่ง ของความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพนี้เท่านั้น แต่ความรู้ในด้านการคิดวิเคราะห์ต่างหากที่เป็นจุดเด่น เป็นความรู้ความสามารถที่ควรมีในตัวนักบัญชี 

รวมถึงนักบัญชีจะต้องมีความรู้และไม่หยุดที่จะเรียนรู้รวมถึงการพัฒนาตัวเอง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง 

1. จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เนื่องจากนักบัญชีจะเป็นด่านแรกที่ได้รับข้อมูล และ ด่านสุดท้ายที่จะรายงานข้อมูลสู่สาธารณชน ฉะนั้นข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ออกไป จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ จึงส่งผลให้หลายๆ คนที่ทำอาชีพนี้มีบุคคลิกที่เป็นคนละเอียด หรือ หากบุคคลภายนอกได้ร่วมงานด้วยก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นักบัญชีเรื่องมากบ้าง จุกจิกบ้าง ด้วยเพราะงานบัญชีเกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นจำนวนมาก

2. เป็นนักวางแผน
เนื่องจากต้องมีกระบวนการรายงานข้อมูลต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น งบการเงิน ที่จะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร หรือตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น 

3. เป็นคนขยัน อดทน
ที่จะต้องรับมือเป็นฝ่ายสุดท้าย ก่อนส่งงานออกให้ทันเวลากำหนดมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นๆให้สำเร็จ ลุล่วง ด้วยดี ในทุกๆ งาน

4. ความซื่อสัตย์
นักบัญชีทำงานภายใต้จรรยาบรรณของวิชาชีพ ฉะนั้น การรายงานต่างๆ จึงต้องเป็นไปด้วยความถูกต้อง แม่นยำและเป็นความจริงเสมอ

5. น้ำไม่เต็มแก้ว
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการออกประกาศฉบับใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

6. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แยกแยะประเด็นต่างๆ และนำความรู้ภาคทฤษฎีมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ

7. บุคคลิก เรียบร้อย ดูดี มีภูมิฐาน
เนื่องจาก งานในวิชาชีพนี้ ส่วนใหญ่ต้องทำงานในบริษัท และอยู่ในกฎเกณฑ์มีระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อถือ ต่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านักบัญชีของแต่ละองค์กรนั้น เป็นผู้ที่ช่วยสนับสนุนงานของทุกๆฝ่าย และทำหน้าที่จัดทำงบการเงินและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เพื่อให้รายงานงบการเงิน ออกมาสู่สาธารณชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างที่สุด

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : คุณกชพร สุวรรณตัด บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

 417
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์