ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ? แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ? แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?



ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน เพื่อที่จะได้บริหารจัดการธุรกิจและจดทะเบียนการค้าได้ถูกต้อง รวมถึงจะสามารถคำนวณภาษีได้ถูกประเภทด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเรื่องการลงทุน ว่าหุ้นส่วนแต่ละคนจะลงทุนคนละเท่าไหร่ ได้กำไรหรือรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร รวมถึงการขายหุ้นให้คนทั่้วไปสามารถร่วมลงทุนกับบริษัทได้อีกด้วย 

การรู้จักประเภทธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดี จะทำให้การบริหารดำเนินงานเป็นไปได้ดีขึ้น มีความเป็นมืออาชีพและดูน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่านั่นเอง

ประเภทของธุรกิจ

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้หลักๆ คือ แบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ แบบนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

1. ประเภทของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก มีการจดทะเบียนการค้าแบบบุคคลธรรมดา การตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งเรื่องกำไรหรือขาดทุนก็มีผลต่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านชำที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว เพียงแต่มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผลจากกำไร และการขาดทุนเท่าๆ กันซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตรงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้มีสถานะเป็นคณะบุคคลนั่นเอง

2. ประเภทของธุรกิจแบบนิติบุคคล

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือมีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพียงแต่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ความแตกต่างคือ หุ้นส่วนมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน คือ แบบรับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบไม่เกินเงินที่ได้ลงทุน แต่ไม่มีการสิทธิการตัดสินใจในกิจการ ส่วนแบบรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด โดยรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิในการตัดสินใจต่างๆ

2.2 บริษัทจำกัด

ธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นในจำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ธุรกิจประเภทนี้เหมาะกับกิจการที่มีรายได้หรือมูลค่าสูง มีความเป็นสากลเพราะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ

2.3 บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทจำกัดที่นำหุ้นออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อ และร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ ซึ่งหุ้นดังกล่าวสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่เดิมบริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน แต่ปัจจุบันต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

2.4 องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

องค์กรธุรกิจจัดตั้ง มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน การชำระค่าหุ้นคือชำระครั้งเดียวเต็มจำนวน และกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน โดยลักษณะของธุรกิจมีดังนี้ ธุรกิจการเกษตร คือ การทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจการพาณิชย์ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มาบทความ >>www.finance<<

 170703
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย)  เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย  สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์