เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?

เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?



ความแตกต่างระหว่าง.. เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ และ เงินจอง

เงินที่กิจการ ‘รับมาล่วงหน้า‘ จากการขายสินค้า หรือให้บริการ

       การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในบางกิจการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ามักจะมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า ซึ่งเงินบางส่วนที่เรียกเก็บนั้นมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ‘เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง’

เงินล่วงหน้า (Advanced Payment)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการได้จ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งอาจะมีการเรียกเก็บในอัตรา 5-15 % ของมูลค่าตามสัญญาหรือข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไขว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่กัน

เงินประกัน (Bail)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

เงินมัดจำ (Deposit)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไว้ ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ อันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหลักประกันว่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในการชำระค่าสินค้าหรือให้บริการ

เงินจอง (Reserve money)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง อันเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจอง อย่างไรก็ดีหากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 

แหล่งที่มา : Link

 1458
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์