ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม

ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม


มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายใน

1.สินค้าและวัตถุดิบ

• ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เหมาะสม แบ่งประเภทหรือจัดหมวดหมู่ของสินค้า ออกเป็นแต่ละประเภทของชนิดของสินค้านั้น ๆ

• ควรมีการตรวจนับเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงเหลือมีอยู่จริง และจำนวนถูกต้อง อีกทั้งสินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

• ควรใช้โปรแกรมเชื่อมโยงกับระบบบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของระบบและการเคลื่อนไหวของรายการ

2.เงินเดือนและค่าแรง

• ควรจ่ายโดยการโอนอัตโนมัติผ่านระบบธนาคาร ต้องตรวจสอบชื่อและเลขที่บัญชีของพนักงานแต่ละคนให้ถูกต้องตรงกัน ข้อมูลพนักงานตรงกับระบบประกันสังคม

3.การเลือกใช้โปรแกรมบัญชี

• สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานอื่น เช่น ควบคุมสินค้า ระบบซื้อขาย ระบบทรัพย์สิน ระบบเงินเดือน เพื่อแสดงข้อมูบที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

4.เงินกู้ยืมจากกรรมการ

• มีหลักฐานสัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับหลักฐานของเส้นทางการเงินที่สามารถตรวจสอบได้

5.การจัดทำบัญชีรับจ่าย

• การรับชำระค่าสินค้าตรงกับข้อมูลจากธนาคาร การรับจ่ายเงินตรงชื่อบัญชีธนาคารและเอกสารการค้าตรงกัน

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายนอก

1. ข้อมูลธุรกิจการซื้อขายของธุรกิจจากผู้ผลิต จนถึงผู้จำหน่าย สามารถยันตรงกันได้

2. ข้อมูลจากหน่วยราชการอื่นๆ เช่น การนำเข้าสินค้า ข้อมูลการซื้อขายทรัพย์สิน ข้อมูลพนักงานตรงกัน

3. ข้อมูลธุรกรรมภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบตรงกับรายได้ที่ยื่น

4. ข้อมูลการรับจ่ายเงินจากสถาบันการเงินตรงกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล RISK BASED AUDIT

1.  รวบรวมข้อมูลธุรกิจประเมิน ความเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายใน

2. ประเมินธุรกิจจากความเสี่ยงและอัตราส่วนทางการเงิน

ผลจากการมีระบบการเงินบัญชีที่ดี

1. มีโอกาสได้คืนภาษีเร็ว เนื่องจากมีระบบบัญชีที่ดี

2. โอกาสถูกตรวจสอบน้อย

3. ลดข้อผิดพลาด ลดการทุจริตในองค์กร

หากไม่มีระบบบัญชีที่ดี

1. ได้รับคืนภาษีช้าเนื่องจากอาจถูกตรวจสอบ

2. มีโอกาสถูกตรวจสอบเพิ่มขึ้น

3. เจ้าหน้าที่ ติดตามอย่างใกล้ชิด

4. ถ้าถูกประเมินภาษีย้อนหลัง มีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสูง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 687
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากอดีตถึงปัจจุบันปัญหาที่ทุกองค์กรจะพบคือ ‘การทุจริต’ โดยจะมีบุคคลที่ส่อแววว่าจะทำการทุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาทุจริตจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบระบบภายใน ระบบการเงินอยู่เสมอ เพื่อป้องกันช่องว่างที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นฉวยโอกาส ฉะนั้นเราลองมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกันดีกว่า
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
( ภาษาอังกฤษ There are many types )บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์