วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”

วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”


ขั้นตอนที่ 1

การประมาณการโดยนําผลการประกอบกิจการจริง 6 เดือนแรก บวกกับผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่คาดวาจะเกิดขึ้น 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านรายได้ ประกอบด้วย รายได้โดยตรง รายได้อื่น เช่น กำไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

2. ด้านรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายขายและ บริหาร รายจ่ายอื่น เช่น ขาดทุนจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

*สำหรับรายจ่ายให้พิจารณาเรื่องรายจ่าย ต้องห้ามด้วย เพราะไม่สามารถนํามารวม

ขั้นตอนที่ 2

นําประมาณการกำไรสุทธิ มาคํานวณ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และพิจารณาว่าภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537ฯ ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ

ทั้งนี้ กรณี มีการลดอัตราภาษีในปีที่ประมาณการ ให้พิจารณาตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537ฯ ลงวันที่ 31 ส.ค.2537 ด้วย..

หากประมาณการกําไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ⁉️

▪️มาตรา 67 ตรีในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

▪️ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

▪️กรณีที่ 2 บริษัทหรือหจก. ไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่น ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

บทสรุปการประมาณการกำไรสุทธิ

ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกําไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th  

 466
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์