ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม

ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม


มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายใน

1.สินค้าและวัตถุดิบ

• ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เหมาะสม แบ่งประเภทหรือจัดหมวดหมู่ของสินค้า ออกเป็นแต่ละประเภทของชนิดของสินค้านั้น ๆ

• ควรมีการตรวจนับเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงเหลือมีอยู่จริง และจำนวนถูกต้อง อีกทั้งสินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

• ควรใช้โปรแกรมเชื่อมโยงกับระบบบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของระบบและการเคลื่อนไหวของรายการ

2.เงินเดือนและค่าแรง

• ควรจ่ายโดยการโอนอัตโนมัติผ่านระบบธนาคาร ต้องตรวจสอบชื่อและเลขที่บัญชีของพนักงานแต่ละคนให้ถูกต้องตรงกัน ข้อมูลพนักงานตรงกับระบบประกันสังคม

3.การเลือกใช้โปรแกรมบัญชี

• สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานอื่น เช่น ควบคุมสินค้า ระบบซื้อขาย ระบบทรัพย์สิน ระบบเงินเดือน เพื่อแสดงข้อมูบที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

4.เงินกู้ยืมจากกรรมการ

• มีหลักฐานสัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับหลักฐานของเส้นทางการเงินที่สามารถตรวจสอบได้

5.การจัดทำบัญชีรับจ่าย

• การรับชำระค่าสินค้าตรงกับข้อมูลจากธนาคาร การรับจ่ายเงินตรงชื่อบัญชีธนาคารและเอกสารการค้าตรงกัน

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายนอก

1. ข้อมูลธุรกิจการซื้อขายของธุรกิจจากผู้ผลิต จนถึงผู้จำหน่าย สามารถยันตรงกันได้

2. ข้อมูลจากหน่วยราชการอื่นๆ เช่น การนำเข้าสินค้า ข้อมูลการซื้อขายทรัพย์สิน ข้อมูลพนักงานตรงกัน

3. ข้อมูลธุรกรรมภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบตรงกับรายได้ที่ยื่น

4. ข้อมูลการรับจ่ายเงินจากสถาบันการเงินตรงกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล RISK BASED AUDIT

1.  รวบรวมข้อมูลธุรกิจประเมิน ความเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายใน

2. ประเมินธุรกิจจากความเสี่ยงและอัตราส่วนทางการเงิน

ผลจากการมีระบบการเงินบัญชีที่ดี

1. มีโอกาสได้คืนภาษีเร็ว เนื่องจากมีระบบบัญชีที่ดี

2. โอกาสถูกตรวจสอบน้อย

3. ลดข้อผิดพลาด ลดการทุจริตในองค์กร

หากไม่มีระบบบัญชีที่ดี

1. ได้รับคืนภาษีช้าเนื่องจากอาจถูกตรวจสอบ

2. มีโอกาสถูกตรวจสอบเพิ่มขึ้น

3. เจ้าหน้าที่ ติดตามอย่างใกล้ชิด

4. ถ้าถูกประเมินภาษีย้อนหลัง มีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสูง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 466
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์