วิธียื่นเสียภาษีย้อนหลัง แบบง่ายๆทำได้ด้วยตัวเอง

วิธียื่นเสียภาษีย้อนหลัง แบบง่ายๆทำได้ด้วยตัวเอง


แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน

ถึงแม้ว่าการการยื่นชำระภาษีจะปิดบริการแล้วทำให้ท่านไม่สามารถชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ได้ท่านจะต้องดำเนินการ ยื่นภาษีย้อนหลังที่กรมสรรพากรพื้นที่ต่างๆ และต้องยื่นเป็นกระดาษเท่านั้น ดังนั้น หากรู้ตัวว่ายังไม่ได้ยื่นภาษี ควรจะรีบติดต่อกรมสรรพากรในพื้นที่ต่างๆ และเตรียมเอกสารที่จำเป็นในการยื่นภาษี เช่น แบบ ฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 หรือ ภ.ง.ด. 90 รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้สําหรับการยื่น ภาษีให้เรียบร้อย เพราะหลายๆ ครั้งการยื่นภาษีไม่ได้จบแค่ยื่นฟอร์มหรือส่งแบบยื่นภาษีเท่านั้น ในบางครั้งเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจเรียกหาเอกสารเพิ่มเติมด้วย โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มีดังต่อไปนี้

เอกสารทุกอย่างก่อนจะไปยื่นภาษีที่สรรพากรท้องที่

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ (ของตัวเองหรือของพ่อแม่)
  • หนังสือรับรองการจ่ายเงินปันผล
  • การชําระดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน
  • หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
  • เอกสารการซื้อกองทุน LTF RMF เพื่อลดหย่อนภาษี
  • เอกสารยืนยันสิทธิ์ค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบล.ย 03)
  • หากไม่เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ให้พร้อม จะยิ่งทำให้เสียเวลาในการยื่นภาษีและล่าช้าออกไปอีก

ยื่นเสียภาษีย้อนหลัง ต้องเสียค่าปรับเท่าไร

สำหรับในกรณียื่นภาษีช้าเกินกำหนดเวลา ท่านผู้อ่านจำเป็นจะต้องเสียค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยอมยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 หรือยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ขอลดค่าปรับได้

2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 /91 ผ่านอินเทอร์เน็ตช้ากว่ากำหนด หากเป็นกรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ถือว่ามิได้ยื่นแบบ ต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา

  • 3.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
  • 3.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว

4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ

  • 4.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
  • 4.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ

5. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอผ่อนชำระเงินภาษี หากมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา จะหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


เครดิต : https://www.moneyguru.co.th

 1524
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ทำบัญชี อย่าลืม “5 เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎมาย”
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์