กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง

กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง


กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. สำเนาแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นชำระภาษีไว้ในประเทศไทย เช่น ภ.ง.ด. 54
2. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรที่กรมสรรพากรออกให้
3. หลักฐานแสดงการส่งเงินได้ดังกล่าวออกนอกประเทศไทย เช่น คำขออนุมัติซื้อเงินตราต่างประเทศที่ยื่นผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบบ ธ.ต. 4 (ถ้ามี) ใบแจ้งหักบัญชีลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ (Debit Note) ในกรณีที่ได้ส่งเงินได้ดังกล่าวออกนอกประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องแสดงอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันส่งเงิน หลักฐานแสดงการรับเงิน (กรณีการจ่ายเงินในประเทศ)
4. สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)
5. หนังสือเรียกเก็บเงินของผู้รับเงินได้ในต่างประเทศ (Invoice)
6. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการพิจารณา เช่น สัญญา หรือ ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดการจ่าเงินได้ (กรณีที่สงสัยว่าเป็นการจ่ายเงินได้ประเภทใด) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับ และผู้จ่ายเงินได้เป็นภาษาอังกฤษ

กรณีการจ่ายเงินได้ประเภทเงินปันผล นอกจากหลักฐานข้างต้นจะต้องพิจารณาหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้


1. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
2. มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้จ่ายเงินปันผล
3. ภ.ง.ด. 50 รอบบัญชีที่ประกาศจ่ายเงินปันผล

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ขอบคุณบทความจาก : www.rd.go.th
 611
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
ค่าใช้จ่าย (Expenses) เป็นคำที่ใช้ในด้านการเงินและการจัดการธุรกิจ หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินให้ได้มาซึ่งการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปอย่างราบรื่น ค่าใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงิน เนื่องจากช่วยสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรและแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์