Retention และ Refinance แตกต่างกันอย่างไร

Retention และ Refinance แตกต่างกันอย่างไร


Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ Refinance เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance

Retention มีข้อดีอยู่ที่ความสะดวกสบาย เพราะเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ซึ่งมีเอกสารและข้อมูลอยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มาก โดยเตรียมแค่สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้านและสำเนา และบัตรประชาชนของผู้กู้และสำเนาเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการพิจารณาก็ไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระอยู่แล้ว

นอกจากนี้ Retention ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า Refinance ด้วย และบางธนาคารก็คิดแค่ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1% ของวงเงินกู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าประวัติการผ่อนชำระไม่ดี ก็อาจขอ Retention ไม่ผ่านได้ หรือถ้าผ่าน อัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็จะน้อยกว่าคนผ่อนที่มีประวัติดี นอกจากนี้ข้อเสียของ Retention คือ ธนาคารเดิมที่อาจลดดอกเบี้ยให้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับ Refinance
หมายเหตุ หากผู้ที่ต้องการ Refinance ติดต่อหลายธนาคาร จนได้ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยใหม่แล้ว ธนาคารเดิม (บางแห่ง) อาจมีการสอบถามอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อปรับให้ Retention มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ Refinance ได้ ซึ่งต้องสอบถามโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ของธนาคาร


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณที่มา :  ddproperty.com
 480
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์