ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร


ลูกหนี้กรรมการคืออะไร

บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการนั้นมีได้หลายแบบ เช่น

  • กรรมการยืมเงินออกไปจากกิจการจริงๆ
  • กรรมการนำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • จดทะเบียนบริษัท ระบุทุนชำระจำนวนมากแต่ไม่มีการชำระเงินกันจริง
  • เงินหายจากบริษัทสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • ปิดบัญชีไม่ลงตัว นักบัญชีจึงบันทึกผลต่างในบัญชีนี้ก่อน
  • ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรไม่ยอมรับ จึงบันทึกไว้ในเงินให้กู้ยืมกรรมการ

ถ้าลองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการแล้วจะพบว่า ถ้าเป็นการที่กรรมการยืมเงินไปใช้จริงๆ เราคงพอรับได้เพราะมันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แต่ต้น แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมา อาจจะต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ทุกวันนี้เราแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและเงินธุรกิจกันอย่างไร เพราะเมื่อไรก็ตามที่ยังแยกกระเป๋าไม่ได้ บัญชีลูกหนี้กรรมการก็จะเกิดขึ้นในงบการเงินอยู่เสมอ

นอกจากนี้แล้วเรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ใช้สำหรับการบันทึกรายการจ่ายชำระเงิน ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องระวัง เพราะถ้าเราไม่ให้ข้อมูลแก่นักบัญชีให้ครบถ้วน เงินที่หายไปจากบัญชีอาจถูกเหมารวมว่าเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการทั้งหมด

ที่จึงเป็นที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงตกเป็นลูกหนี้บริษัท ด้วยจำนวนเงินก้อนโต

ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี บัญชีนี้อาจสร้างปัญหาให้เราในอนาคต เช่น ทำให้งบการเงินไม่ถูกต้อง ไม่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของกิจการ และภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะที่กิจการต้องจ่าย เพราะกฎหมายกำหนดภาษี ไม่ยอมให้กิจการจะให้กู้แบบฟรีๆ โดยไม่มีดอกเบี้ยระหว่างกัน


ขอบคุณที่มา : zerotoprofit.co

 534
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์