4 รายการบัญชีที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทำบัญชีด้วยตัวเอง

4 รายการบัญชีที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทำบัญชีด้วยตัวเอง


การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง

สำหรับธุรกิจ SME ทั่วไปการจ้างนักบัญชีเข้ามาช่วยทำบัญชีอาจเป็นการสร้างภาระด้านการเงินให้กับธุรกิจของตัวเองพอสมควร ดังนั้นทางออกของธุรกิจ SME ก็คือการใช้งานโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำการบันทึกบัญชีเบื้องต้นของกิจการที่จะทำให้คุณทราบถึงผลกำไร ขาดทุน การเข้าออกของเงิน หากคุณต้องการจะทำบัญชีด้วยตนเองผ่านโปรแกรมบัญชี คุณจะต้องจำไว้ว่า 4 รายการบัญชีต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เพราะคุณจะต้องระมัดระวัง ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลัก และมาตรฐานการทำบัญชี ดังนี้

1.รายการภาษีรายเดือน การทำธุรกิจโดยเฉพาะในรูปแบบของนิติบุคคล และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นจะต้องทำรายงานเกี่ยวกับภาษี แล้วนำไปยื่นแบบภาษีของแต่ละประเภท เช่น ภ.พ. 30, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.1 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนและค่าจ้าง และประกันสังคม

2.ภ.ง.ด. 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบบแสดงภาษีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครึ่งปี ใช้สำหรับคนที่เปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยคิดจากผลกำไรสุทธิ และทำการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการประเมินจากกำไรสุทธิ

3.ภ.ง.ด.50 ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี แบบแสดงภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประจำปี ใช้สำหรับคนที่ทำการเปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อนำไปเสียภาษีเงินได้ โดยคิดจากการนำรายได้หักรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ในแต่ละรอบเวลาบัญชีซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิที่กฎหมายกำหนด

4.รายงานงบการเงิน 1 ปี การจัดทำงบการเงินสำหรับ 1 ปีถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับมือใหม่อยู่ไม่น้อย เพราะการทำงานในส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการทำบัญชี และภาษีอยู่พอสมควร ถึงจะทำงานในส่วนนี้ให้ออกมาถูกต้องได้
 114
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
เอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถใช้ได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์