วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ

วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ


เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!!

1.ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาตง่าย ๆ ได้ที่ Click

เพียง กรอกข้อมูล 1. ชื่อ 2. นามสกุล และ 3. เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในระบบตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
  • หากระบบแสดงสถานะ “ปกติ” แปลว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้มีสถานะปกติและสามารถใช้บริการได้
  • หากระบบแสดงสถานะ “ไม่พบข้อมูล” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้อาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต พักใช้ใบอนุญาต หรือ อาจจะไม่ได้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ยังไม่ควรใช้บริการ หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสภาวิชาชีพบัญชีได้โดยตรง
2. ตรวจสอบสถานะสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีง่าย ๆ ได้ที่  Click

  • หากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก”
  • หากไม่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “ไม่เป็นสมาชิก” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือบุคคลนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี  

หมายเหตุ: หากระบบแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก” ไม่ได้หมายความว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” หรือ “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต”


หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อส่วนงานทะเบียน สภาวิชาชีพบัญชี โทรศัพท์ 02-685 2524, 2525, 2529, 2530 หรือ 2532


ที่มา : tfac.or.th
 68
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง
ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์