เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี

เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี


สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้
 

      1. งบประมาณ ก่อนที่จะเริ่มต้นเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านต้องจัดสรรงบประมาณไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์ (HardwareServer & Client , ค่าใช้จ่ายซื้อลิขสิทธิ์ฐานข้อมูล SQL, โปรแกรมที่ใช้เขียนรายงาน ฯลฯ

      2. พิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมบัญชี สามารถรองรับกระบวนการทำงาน (Business Process) ของธุรกิจได้มากกว่า 70-80% โปรแกรมบัญชีในตลาดนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไปทั้งลักษณะการใช้งานและราคา การที่จะเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีท่านจะต้องสำรวจความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน (User) และผู้บริหาร (Management Team) โดยเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ต้องการ ท่านควรพิจารณาว่าโปรแกรมบัญชีมีความยืดหยุ่นต่อการทำงานมากน้อยเพียงใดผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ เช่น การเขียนรายงานต่างๆ หลุมดำของโปรแกรมบัญชี (Bug) เป็นธรรมดาที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อาจจะมีหลุมดำหรือ Bug ซึ่งจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักในการประมวลผลหรือที่เรียกว่า Error เพื่อความปลอดภัย โปรดสอบถามผู้ขาย ว่าโปรแกรมนั้นมีผู้ใช้จำนวนกี่รายพัฒนาโปรแกรมมาแล้วกี่ปี? การเลือกโปรแกรมที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดจะปลอดภัยกว่า อีกทางหนึ่งคือเลือกโปรแกรมที่พัฒนาจากบริษัทที่มีชื่อเสียงหรือมีประสบการณ์ทางด้านบัญชี อีกประการหนึ่งโปรแกรมบัญชีที่ดีจะต้องมีเครื่องมือจัดการฐานข้อมูล เช่น ไฟดับในระหว่างกำลังสั่งประมวลผลข้อมูล โปรแกรมบัญชีที่ดีควรมีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (Backup) เพื่อช่วยกู้ข้อมูลกลับมาได้ทันที
 
      3. พิจารณาคุณสมบัติของผู้จำหน่ายโปรแกรม (Software House) สิ่งที่สำคัญพอๆ กันกับการเลือกโปรแกรมก็คือคุณต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาผู้ที่จำหน่ายโปรแกรมบัญชี  เช่น ทีมบริการหลังการขาย ท่านจะต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ในโปรแกรมนั้นเป็นอย่างดี และสามารถให้คำปรึกษาในการใช้งานได้จริง ท่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยการสอบถามประสบการณ์จากผู้ที่ใช้โปรแกรมอย่างน้อย 3 ราย ขอรายชื่อลูกค้าอ้างอิงเพื่อสอบถามผู้ที่ใช้งานจริงว่ามีการใช้งานเป็นอย่างไร?  มีความพอใจกับโปรแกรมนั้นหรือไม่? บริการหลังการขายของผู้ขายเป็นอย่างไร?และมีปัญหาใดที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือไม่?



 607
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้าของจะสามารถนำเงินออกจากบริษัทได้โดยทางใดบ้าง และแต่ละทางมีข้อดี-ข้อเสียทางภาษีที่แตกต่างกันอย่างไร
การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์