5 ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว

5 ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว

ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี


บัญชีชุดเดียวคืออะไร   คือการจัดทำบัญชีตามข้อเท็จจริงของรายได้ธุรกิจ เพราะเนื่องจากในอดีตบางธุรกิจจะมีการทำหลายบัญชีเพื่อ

  1. ยื่นกู้ขอสินเชื่อ โดยสร้างความน่าเชื่อถือต่อรายได้ของบริษัทให้เกินจริง

  2. หลีกหนีภาษี โดยจัดรายได้บริษัทให้น้อยเกินกว่าต้องเสียภาษี

โดยเมื่อเกิดการตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามจริงเหมือนในเอกสารบัญชีจะถือเป็นความผิด และรัฐสามารถเอาผิดแก่ผู้ประกอบการได้ทันที

ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว(ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและระบบ ERP)

  1. ตรวจสอบผู้ประกอบการและเร่งระดับความเป็น SMEs ให้มีความเป็นสากลได้มากขึ้น โดยนำบัญชีไปวางแผน

  2. ทำให้เจ้าของกิจการได้ทราบถึงข้อมูลตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง ทำให้สามารถวางแผนงานและการดำเนินงานธุรกิจต่อไปได้

  3. บัญชีเดียวสามารถยื่นกู้สินเชื่อได้ตามจริง โดยเมื่อธนาคารตรวจสอบจะเห็นรายได้ตามจริงของบริษัท แต่ถ้าเป็นบัญชีที่ตกแต่งขึ้นมาผิดปกติหากเมื่อเกิดการตรวจสอบอาจทำให้บริษัทต้องขึ้น blacklist ได้

  4. สามารถคำนวณการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าเกิดการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการเสียภาษีผู้ประกอบการสามารถร้องเรียนได้ด้วยหลักฐานบัญชี

  5. ช่วยรัฐวางแผนเศรษฐกิจระดับประเทศได้ถูกต้อง โดยนำตัวเลขมาเฉลี่ยและคำนวณรายการเติบโตของผู้ประกอบการในประเทศ และเอามาพัฒนานโยบายต่อไป

การทำบัญชีชุดเดียวในปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำ เพราะเป็นแนวทางการทำงานที่ทำให้วางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น และเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานทั้งการกู้เงินและการเสียภาษีได้ในชุดเดียว

ที่มา : businesslinx.globallinker.com

 694
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์