ไม่อยากออกหนังสือรับรองพนักงานเพราะกลัวคุก

ไม่อยากออกหนังสือรับรองพนักงานเพราะกลัวคุก

Q :
      
ผมได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองการเป็นพนักงาน ของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งทำเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ โดยคนที่ถูกออกหนังสือรับรองก็ไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัทนั้น แต่เจ้าของบริษัททำให้เพราะเกรงใจผู้ใหญ่ แล้วปรากฎภายหลังว่า ผู้หญิงคนนั้นได้ถูกบังคับให้ไปค้าประเวณีที่ออสเตรเลีย ทำให้เจ้าของบริษัทเจอตำรวจจับข้อหาค้ามนุษย์ ผมมาคิดๆดู บริษัทผมมีสาวๆสวยๆแยะ แล้วก็มีตังค์ไปเที่ยวต่างประเทศกันพอสมควร อย่างนี้ เพื่อป้องกันปัญหาเอาไว้ก่อน ผมสามารถจะไม่ออกหนังสือรับรองเงินเดือนหรือสถานภาพพนักงานได้หรือไม่ หรือจะป้องกันโอกาสที่จะเกิดเรื่องอย่างที่เป็นข่าวได้อย่างไรบ้างครับ - นพดล
        
A :
     
คุณนพดลเป็นคนช่างคิดนะครับ แต่ผมคิดว่า กรณีนี้อย่าไปคิดมากจนเกิดการวิตกจริต แล้วไปกำหนดแนวปฏิบัติที่จะสร้างปัญหาให้กับพนักงานดีกว่านะครับ เพราะกรณีที่เขามีเรื่องนั้น มีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอย่างหนึ่งก็คือ เขาไปออกหนังสือรับรองให้กับคนที่ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท ซึ่งมันผิดตั้งแต่ต้นแล้วละครับ อย่างน้อยเรื่องของการออกเอกสารปลอมให้กับทางราชการ เลยทำให้ต้องสงสัยเพราะมันมีพิรุธ แม้เจ้าตัวจะออกตัวว่า ทำไปแค่ครั้งเดียวก็ตาม แต่หากคุณนพดลทำไปตามปกติ ก็ไม่เห็นมีอะไรต้องกังวล เพราะเรามีความบริสุทธิ์ใจ
       
      อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่กฎหมายอย่างเดียว การที่คุณนพดลไม่ออกหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นพนักงานก็ย่อมทำได้ เพราะกฎหมายบอกให้ต้องออกหนังสือรับรองเฉพาะการพ้นสภาพพนักงานแล้วเท่านั้น ซึ่งตรงนี้หลายคนไม่ทราบ ผมเองก็ยังเคยมีพรรคพวกถามอยู่ออกบ่อยว่า เพิ่งเลิกจ้างพนักงานไปด้วยความผิดร้ายแรง จะไม่ออกหนังสือรับรองให้ได้หรือไม่ ซึ่งหลายคนคิดว่า ไม่ออกให้ก็ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก กฎหมายบังคับให้เราต้องออกหนังสือรับรองให้กับพนักงานที่พ้นสภาพไปแล้วในทุก กรณี ต่างจากกรณีการออกหนังสือรับรองสถานภาพพนักงาน กฎหมายไม่ได้ระบุเอาไว้ว่าต้องทำ เรามีสิทธิไม่ทำก็ได้ แต่ว่าในทางแรงงานสัมพันธ์หรือบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันไม่น่าจะดี ลองคิดภาพดูซิครับว่า อยู่ๆก็มีประกาศออกมาจากบริษัทว่า บริษัทงดการออกหนังสือรับรองด้วยเหตุว่า ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์กลัวติดคุก ผมว่ามันจะไปกันใหญ่นะครับ
        
      แต่ถ้าหากจะหาทาง ป้องกันเอาไว้เพื่อความสบายใจ ผมเสนอว่า ก็ใช้แนวทางของการบริหารและควบคุมในกระบวนการของเราเอง ด้วยวิธีการอย่างเป็นต้นว่า
        
        1. กำหนดให้มีการกรอกแบบยื่นคำขออย่างชัดเจนว่า ขอไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร จะใช้เมื่อไหร่ อาจจะกำหนดจำนวนว่า ขอได้ครั้งละไม่เกิดกี่ใบเอาไว้ด้วยก็ได้
       
        2. ในการจัดทำหนังสือรับรอง ก็ให้ระบุลงไปให้ชัดว่า ออกไปเพื่ออะไร
       
        3. มีการกำหนดลงไปในหนังสือด้วยว่า หนังสือรับรองนี้ จะใช้ได้ถึงเมื่อไหร่ ซึ่งผมคิดว่า ไม่ควรเกินสองสัปดาห์หลังจากวันที่หนังสือออก เดี๋ยวจะเกิดการหลุดดออกไป แล้วแปลงปลอมกันได้ ผมคิดว่าด้วยแนวทางที่ว่านี้ก่าจะทำให้เห็นเจตนาที่ชัดเจน และป้องกันผู้ออกหนังสือได้ หากเกิดจับพลัดจับผลูมีพนักงานเราไปแอบหนีวิซ่าแล้วไปทำงานอย่างว่า คุณนพดลก็สามารถชี้ได้ว่า เรามีความรอบคอบรัดกุมอย่างไร การที่พนักงานคนนั้นไปทำอะไรอย่างนั้น ก็ถือเป็นเรื่องเฉพาะตัวของเขาไป
       
        คงจะทำให้สบายใจขึ้นแล้วนะครับ

 
  
ที่มา : www.manager.co.th

 488
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ
“ลาป่วยกรณีไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาคาใจชาวออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็ตาม เพราะไม่แน่ใจว่าลาป่วยแบบนี้ได้ไหม จะให้เอ่ยปากถามตรง ๆ ก็กลัวจะได้คำตอบว่ากฎระเบียบของบริษัทเป็นแบบนี้ ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าในใจจะแอบสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า สวัสดิการวันลาที่บริษัทให้มันแฟร์กับพนักงานอย่างเรา ๆ หรือเปล่า? ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ ยิ่งในยุคแห่งโควิด-19 ที่วันลาป่วยต้องหายไปฮวบฮาบจนทำให้หลายคนวันลาป่วยแทบหมด ไม่เหลือให้ป่วยอะไรได้อีก เราเลยอยากชวนมาไขข้อข้องใจเรื่องสิทธิการลาป่วยที่มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราควรได้กันดีกว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์