5 วิธีควบคุมต้นทุนธุรกิจสำหรับกิจการ SME

5 วิธีควบคุมต้นทุนธุรกิจสำหรับกิจการ SME



เป้าหมายสำคัญในการทำธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม คงจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากผลกำไร เมื่อเราพูดถึงกำไรก็สามารถคิดคำนวณได้ง่ายๆ คือ “รายได้-รายจ่าย” ซึ่งรายได้ที่มากขึ้นมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่คุณต้องไม่ลืมว่าต้นทุนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกว่าธุรกิจของคุณได้กำไรมากแค่ไหนเช่นกัน หากคุณอยากสร้างกำไรให้เพิ่มขึ้น คุณก็ต้องพยายามลดต้นทุนธุรกิจในส่วนที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด

คำถามคือ ทำไมเราไม่พยายามหาวิธีทำการตลาด โปรโมทสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขายให้เยอะๆ แทนที่จะมาโฟกัสที่การลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว? นั่นเป็นเพราะว่ารายได้ในแต่ละเดือนเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถกำหนดได้ แต่เราสามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินธุรกิจได้ และหากยอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ต้นทุนสูงลิ่วก็ไม่สามารถทำให้ธุรกิจของคุณสร้างผลกำไรที่ยั่งยืนได้แน่ ในทางกลับกัน การละเลยไม่ใส่ใจควบคุมต้นทุนธุรกิจให้ดีนั้น อาจทำให้คุณเดินไปถึงเป้าหมายได้ช้าลง หรือหากโชคร้ายต้องปิดกิจการอาจนำไปสู่ “ภาวะการแบกรับหนี้สิน” ได้

วิธีควบคุมต้นทุนสำหรับธุรกิจ SME

1. วางแผนงบประมาณและกำหนดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน

เริ่มแรกคุณจะต้องรู้ก่อนว่าต้นทุนแท้จริงในการดำเนินธุรกิจคือเท่าไร รายรับและรายจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นต้องมีการบันทึกทำบัญชีอย่างละเอียดชัดเจน จากนั้นต้องวิเคราะห์แยกประเภทค่าใช้จ่ายว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ก่อนดำเนินการจ่ายเงินหรือซื้ออะไรก็ตาม ต้องไม่ลืมที่จะค้นหาเปรียบเทียบราคาอยู่เสมอ และที่สำคัญต้องปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัด

2. ทำการตลาดออนไลน์

การสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจ SME ในยุคนี้ได้เปรียบมาก ในเรื่องของการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งช่วยประหยัดงบไปได้เยอะและยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย เริ่มจากการสร้างเว็บไซต์ เพจ Facebook บัญชี Line@ และ Instagram ทั้งนี้คุณสามารถเลือกได้ตามวัตถุประสงค์ธุรกิจ รวมถึงการทำโฆษณาบน Google ทั้ง SEM และ SEO ซึ่งได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถควบคุมงบประมาณในแต่ละเดือนได้

3. Barter แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ

การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการสามารถทำได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแลกเปลี่ยนเพื่อแลกกับมีเดียหรือโฆษณาผ่าน KOL ในเหล่าบรรดาบล็อกเกอร์ ดารา ฯลฯ ทดลองใช้สินค้าของเราและเป็นกระบอกเสียงบอกต่อกับลูกค้า หรือหากเรามีคนรู้จักที่สามารถช่วยเราทำงานได้ เช่น การทำบัญชี หรืออื่นๆ ก็สามารถเจรจาต่อรองได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับมูลค่าและความเหมาะสมของธุรกิจของคุณด้วย

4. วิเคราะห์และค้นหาลูกค้าตัวจริงของคุณ

ข้อดีของการรู้ว่าใครคือลูกค้าตัวจริงของคุณ โดยในที่นี้คือกลุ่มลูกค้าที่ “สร้างมูลค่า” ให้กับธุรกิจ และกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากนัก ทำให้เราสามารถโฟกัสเวลาและต้นทุนให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย แต่ไม่ใช่ว่าจะทิ้งกลุ่มที่สร้างรายได้น้อยไปเลยทันที ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าประเภท A สร้างรายได้ให้กับบริษัทได้มากกว่าประเภท B ถึง 2 เท่า เมื่อรู้อย่างนี้เราควรนำงบที่มีไปลงกับกิจกรรมที่จะขยายฐานลูกค้าประเภท A ให้มากขึ้น เช่น เสนอส่วนลดที่มากขึ้น หรือให้ค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่สามารถปิดการขายได้เป็นต้น ในขณะที่ให้ความสำคัญน้อยเป็นอันดับสองกับลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง นี่ถือเป็นการจัดการทรัพยากรเพื่อให้เปลี่ยนเป็นกำไรได้มากที่สุดสำหรับบริษัท

5. เปลี่ยนจากคนมาใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยแทน

ปัจจุบันนี้มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับธุรกิจมากมายโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก บ้างก็ฟรี บ้างก็เสียเงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังถือว่าช่วยเราประหยัดงบไปได้เยอะรวมถึงเรื่องของพนักงานด้วย บริการเหล่านี้มีตั้งแต่เทคโนโลยีในการช่วยดูแลลูกค้า รับชำระเงินออนไลน์ ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า หรือแม้แต่การเปิดช่องทางการขายของออนไลน์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุน ทั้งนี้ในแง่ของสถานที่ เครื่องมือในการดำเนินการ และพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น การส่งสินค้าให้ลูกค้า แทนที่เราจะเอางบมาจ้างพนักงานขับรถ ซื้อมอเตอร์ไซค์ เราก็สามารถใช้บริการแมสเซ็นเจอร์ และบริการส่งสินค้าทางไปรษณีย์ผ่านแอพพลิเคชั่นได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกมากมายเช่น บริการทำใบแจ้งหนี้ออนไลน์ ระบบบริหารจัดการร้านค้า สต็อกสินค้า เป็นต้น

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี!


บทความโดย : www.peerpower.co.th

 676
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ
“ลาป่วยกรณีไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาคาใจชาวออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็ตาม เพราะไม่แน่ใจว่าลาป่วยแบบนี้ได้ไหม จะให้เอ่ยปากถามตรง ๆ ก็กลัวจะได้คำตอบว่ากฎระเบียบของบริษัทเป็นแบบนี้ ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าในใจจะแอบสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า สวัสดิการวันลาที่บริษัทให้มันแฟร์กับพนักงานอย่างเรา ๆ หรือเปล่า? ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ ยิ่งในยุคแห่งโควิด-19 ที่วันลาป่วยต้องหายไปฮวบฮาบจนทำให้หลายคนวันลาป่วยแทบหมด ไม่เหลือให้ป่วยอะไรได้อีก เราเลยอยากชวนมาไขข้อข้องใจเรื่องสิทธิการลาป่วยที่มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราควรได้กันดีกว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์