ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ


      เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง

        หากคุณต้องการผู้ช่วยสักคนในองค์กร เพื่อปรับปรุงความมั่นคงทางการเงินคุณควรให้ความสนใจไปที่ที่ปรึกษาด้านบัญชีหรือไม่ก็ที่ปรึกษาด้านภาษี  เพราะการให้คำปรึกษาด้านภาษีช่วยให้ผู้คนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ การมีที่ปรึกษาด้านบัญชีจะช่วยให้ลูกค้าปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านภาษีและช่วยให้สามารถเก็บเงินไว้ได้มากขึ้น

ที่ปรึกษาด้านภาษี คือใคร?

        ที่ปรึกษาด้านภาษี คือผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษี และให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเงินด้วยบ้าง ในบางครั้ง ที่ปรึกษาด้านภาษีจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการการยื่นภาษี คืนภาษีและเรื่องการเงินต่าง ๆ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ นอกเหนือจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาษีที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า ที่ปรึกษาด้านภาษียังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านภาษี

        ทั้งผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล อาจจะกังวลว่าตนเองดำเนินธุรกิจแล้วเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หรือเสียภาษีครบถ้วน หรือถูกต้องหรือไม่ การมีที่ปรึกษาด้านภาษีจะช่วยให้คุณสามารถจัดการภาษีได้ดีมากขึ้น

        ที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ได้ช่วยธุรกิจจัดการภาษีอากรอย่างเดียว แต่ในบางสำนักบัญชีหรือบริษัทที่ให้บริการที่ปรึกษาด้านภาษียังให้บริการครอบคลุมถึงงานด้านทำบัญชีด้วย ซึ่งจะง่ายต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรมีที่ปรึกษาด้านภาษีในธุรกิจด้วย

ที่ปรึกษาด้าน ทำงานและให้บริการด้านใดบ้าง?

  • ให้แนวทางในการวางแผนภาษีในแต่ละปี เพื่อประหยัดค่าภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อาทิเช่น การบริจาคหรือซื้อสินค้า เพื่อลดหย่อนภาษี เป็นต้น
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยังได้รับคำปรึกษาด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT)*
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล จะได้รับคำแนะนำด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)**
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารทางด้านบัญชี ที่จะนำมาใช้ในการยื่นภาษีและเสียภาษี

        ข้อดีของการมีที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ใช่แค่เป็นที่ปรึกษาด้านภาษีเท่านั้น นอกจากงานด้านภาษีที่จะทำให้เอกสารและงานด้านภาษีถูกต้อง ชัดเจนแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงทางด้านภาษี เพราะจะแนะนำจุดผิดพลาดที่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของเงินที่ม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี


ที่มา : www.ar.co.th

 701
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
เจ้าของธุรกิจทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มักนิยมทำการตลาดผ่านโซเชียล เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและรวดเร็ว แต่เจ้าของธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายจ่ายตรงนี้มากเท่าไหร่
การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
เมื่อมีการจ่ายเงินออกนอกประเทศตาม ม.70 แห่งประมวลรัษฎากร แบบยื่นฯ ที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 และ การยื่นแบบทั้ง 2 แตกต่างกันอย่างไร
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์