เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสดในภาวะวิกฤต

เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสดในภาวะวิกฤต



การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ

1. ตัดสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้

ในระหว่างนี้อาจจะต้องครอบครองสินทรัพย์เท่าที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอด อย่าให้มีกำลังการผลิตว่างเปล่าจากการถือครองสินทรัพย์ที่ใช้ในการผลิต หรือให้บริการเกินความจำเป็น สินทรัพย์ที่ครอบครองอยู่มีค่าใช้จ่ายในการครอบครอง ไม่ว่าการจัดเก็บ ดูแล รักษา หรือภาษี  หากผลตอบแทนไม่คุ้มค่าที่จะเก็บไว้แล้วในระยะยาวอาจจะต้องตัดสินใจตัดไฟแต่ต้นลม แล้วจะรู้ได้อย่างไร  พูดง่ายแต่ทำยาก คือต้องมองไปข้างหน้า แล้วคาดการณ์อนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในภาพที่วาดไว้ในมุมต่างๆ  และอย่ามองเข้าข้างตัวเอง โลกนี้ช่างโหดร้ายนัก จำไว้

2. อย่าก่อหนี้เพิ่ม ลดหนี้ได้ให้ลด

หนี้ที่มีต้นทุนการเงินสูงให้รีบลดก่อน  เช่น ชำระหนี้คืนด้วยการขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นเพื่อเอากระแสเงินสดมาชำระหนี้ หรืออาจจะต้องยอมเฉือนเนื้อเถือหนัง กัดฟันจ่ายหนี้ไปก่อน แล้วทำตัวสมถะให้ได้มากที่สุด ทำตัวเป็นกบจำศีลเล็กน้อยเพื่อรักษาบาดแผลให้หายดี  คิดง่ายๆ  “ถือสินทรัพย์ไว้ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าต้นทุนการเงินของหนี้ที่มีอยู่”

3. เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย

ลดรายจ่ายคือส่วนที่เราใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการเพิ่มกำไร หรือเพิ่มกระแสเงินสด แต่การลดรายจ่ายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ที่หนักอึ้งนี้  เพราะแม้จะทำตัวสมถะแล้ว แต่กิจการก็ยังต้องมีต้นทุนการดำรงชีพอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่าย  ใครๆ ก็รู้ข้อนี้ แต่การหารายได้ในครั้งนี้ จำเป็นต้องหาช่องทางการหารายได้เพิ่มจากการลงทุน การดำเนินงาน เพราะฉะนั้นย้อนกลับไปข้อ 1, 2  อาจจะไม่ต้องตัดขายสินทรัพย์ หรือใช้วิธีการบริหาร เจรจาหนี้กับเจ้าหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่อง  เพราะหากสามารถหาผลตอบแทนจากรายได้ได้มากกว่าต้นทุนการถือครองสินทรัพย์ และต้นทุนการเงิน ก็ย่อมอาจจะยอมได้กับการเป็นหนี้

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ขอบคุณที่มา : dharmniti

 184
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 
ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บ  เพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตน  โดยจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ 
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์