ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว

ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว


คณะกรรมการกำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยได้ร่วมกันเผยแพร่ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อมโดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก หรือ ธุรกิจขนาดจิ๋ว

       กล่าวคือ ระบบบัญชีที่เผยแพร่นี้จัดเตรียมไว้ให้สำหรับธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่ต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

       กลุ่มของธุรกิจที่ไม่ต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ธุรกิจทั่วไปที่มีรายรับไม่เกิน 1 ล้าน 2 แสนบาทต่อปี หรือเฉลี่ยมีรายได้จากการขายไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน นั่นเอง

       ระบบบัญชีที่สมาคมนักบัญชีฯ นำมาเผยแพร่ให้กับเจ้าของธุรกิจขนาดจิ๋วหรือธุรกิจขนาดย่อมที่เข้าข่ายดังกล่าวนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีความง่ายและสะดวกในการใช้งานเบื้องต้นจึงมีรูปแบบที่สามารถพัฒนาเพื่อให้เข้าสู่ระบบบัญชีตามมาตรฐานสากลต่อไปได้โดยง่าย

       เป็นแนวความคิดที่ต้องการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางการบริหารจัดการธุรกิจให้กับบรรดาเอสเอ็มอีไทยเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากลต่อไป

       ระบบบัญชีดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำบัญชีด้วยมือและมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์มารองรับเพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถทำบัญชีให้ง่ายขึ้นโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย

ตัวอย่างของระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋วที่เป็นบุคคลธรรมดาประเภทธุรกิจการค้าหรือธุรกิจแบบซื้อมาขายไปจะครอบคลุมกิจกรรมในการทำธุรกิจ

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี


บทความโดย :  nationejobs
 463
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์