3 เหตุผลที่ทำไมโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีจึงมีประโยชน์

3 เหตุผลที่ทำไมโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีจึงมีประโยชน์


การจัดการการเงินของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย
, ใบเสร็จและสเปรดชีตของรายได้ จำเป็นต้องใช้วิธีต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งถ้าหากไม่รอบคอบอาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยซอฟต์แวร์หรือระบบบัญชีที่ถูกต้อง โดยการจัดเตรียมไฟล์บัญชีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเสียภาษี ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาพึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมันสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากมายดังต่อไปนี้

โปรแกรมบัญชีสามารถทำงานได้อัตโนมัติไม่ซับซ้อน

            การรวบรวมข้อมูลแบบเดิมอาจทำให้ผู้ที่รับทำบัญชีจะต้องมานั่งป้อนข้อมูลเป็นเวลานานและทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ ดังนั้นผู้ทำบัญชีหรือธุรกิจจึงควรใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมในการป้อนข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติภายในครั้งเดียว ด้วยซอฟต์แวร์และโปรแกรมสมัยใหม่สามารถทำให้ธุรกิจเข้าใจการชำระเงินของลูกค้า รวมถึงประวัติการซื้อของลูกค้าและสามารถเรียกใช้ใบแจ้งหนี้ทำให้การชำระเงินสามารถทำได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยประวัติการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้ทำบัญชีประหยัดเวลาและยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง

ช่วยธุรกิจจัดการภาษี

            การใช้ระบบ และโปรแกรมบัญชีที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจบันทึกและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทำให้งานบัญชีของคุณง่ายยิ่งขึ้นและสะดวกในการจัดการภาษี นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บางตัวยังมีระบบที่สอดคล้องกับกฎของสำนักงานภาษีด้วยการจัดรูปแบบเอกสารต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับการจัดการภาษีในช่วงเวลาเสียภาษี

ลดค่าใช้จ่าย

           โปรแกรมบัญชีอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดเงินได้ในระยะยาว และช่วยลดการจ้างพนักงานทำบัญชีได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ยังมีรูปแบบการกำหนดราคาตามการสมัครโดยมีต้นทุนที่ต่ำ ด้วยการสมัครรับข้อมูลจะช่วยให้คุณได้รับการอัพเดต, การสนับสนุนและเครื่องมือต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถมุ่งความสนใจไปที่การดำเนินธุรกิจของคุณได้จริง

>>
อ่านบทความ 5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)


บทความโดย:
 https://www.arac.co.th

 982
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
เวลาพูดถึงงบการเงิน หลายๆ คนอาจเข้าใจว่ามันมีรายการเดียวคือ “งบดุล” แต่งบดุลเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงบการเงินมาตรฐานของธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น และเอาจริงๆ งบการเงินมีส่วนประกอบใหญ่ๆ ถึง 5 ส่วนด้วยกัน ว่าแต่ ในแต่ละส่วนมันบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจบ้าง? ลองไปดูกันครับ
สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า...

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์