พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย


ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาซื้อ-ขายออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย หันมาทำธุรกิจออนไลน์ หรือขายของออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์

โดยมีเงื่อนไขของกฎหมาย E-payment มีดังนี้

1. รับหรือฝากเงินเกินกว่า 400 ครั้ง และ มีจำนวนรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี (เฉพาะขารับเท่านั้น)

2. รับหรือฝากเกินกว่า 3,000 ครั้ง

ส่งข้อมูลธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะภายในมีนาคมของปีถัดไป (เฉพาะขารับเท่านั้น)

*หากเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ธนาคารจะนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรทำการตรวจสอบค่ะ


กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลอะไรบ้างเมื่อธนาคารหรือตัวแทนส่งข้อมูลไป

• เลขบัตรประจำตัวประชาชน

• ชื่อ-สกุล

• เลขบัญชีเงินฝาก

• จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน

• ยอดรวมของการฝาก/รับโอนเงิน

เมื่อเข้าเกณฑ์แล้วจะถูกตรวจสอบทุกรายหรือไม่

•กรมสรรพากรจะไม่เรียกตรวจทุกราย เพราะกรมสรรพากรจะมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง

เจ้าของธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร

1.จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย อย่างถูกต้อง

2.เก็บหลักฐานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

3.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอย่างครบถ้วนและตรงเวลาที่กฎหมายกำหนด

เพียงเท่านี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกท่านก็หมดห่วงเรื่องปัญหา กฎหมาย E-payment แล้วนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 342
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี  
กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์