10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชี

10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชี



สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  


เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 

1. การบริการ

นอกจากเก่งบัญชีและเก่งภาษีแล้ว ควรมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำระบบเอกสาร ระบบบัญชี ให้ได้ นอกจากนั้นควรมีบริการหลากหลาย เช่นจดทะเบียนต่างๆ กฎหมาย เป็นต้น อาจมีผู้เชี่ยวชาญในหลายๆ ด้านคอยให้บริการหรือหากไม่มี สามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้จะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

2. การติดต่อประสานงาน

ดูที่ระบบการรับ-ส่งเอกสารว่าจะสูญหายได้หรือไม่ และต้องตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน นอกจากนี้สำนักงานบัญชีที่ดีต้องมีช่องทางที่สามารถให้ลูกค้าถามปัญหาต่างๆ ได้ และมีการโต้ตอบกลับอย่างรวดเร็ว ใส่ใจในรายละเอียดและปัญหาของลูกค้าเป็นอย่างดี

3. ค่าบริการชัดเจน

การพิจารณาเรื่องราคาจึงต้องให้ดูราคาที่เหมาะสม เพราะงานบัญชีที่ดีพนักงานบัญชีหนึ่งคนจะรับงานได้ไม่มาก ถ้าเป็นบริษัทใหญ่จะรับงานได้แค่บริษัทเดียวหรืออาจต้องใช้มากกว่าหนึ่งคน

4. ราคาที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่ ?

ราคาที่เหมาะสมควรจะไม่ต่างจากที่จะต้องจ้างพนักงานบัญชี 1 คน หรือแตกต่างกันไม่มาก การที่ให้ประเมินเช่นนั้นเนื่องจากการที่จ้างพนักงานบัญชีหนึ่งคนจะได้พนักงานที่ทำงานด้านการบันทึกบัญชี

หรือการปิดบัญชี แต่จะไม่สามารถใช้งานจากบัญชีที่ทำขึ้นนอกจากใช้ส่งหน่วยงานราชการเท่านั้น

5. ความซื่อสัตย์

อันนี้ดูยากดังนั้นเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดได้ จึงควรจ่ายค่าภาษีหรือประกันสังคมเป็นเช็คหรือโอนเข้าบัญชีเพื่อความรวดเร็ว ตรวจสอบได้และปลอดภัย ซึ่งหากพบว่าเจ้าหน้าที่ให้ชำระค่าภาษีเป็นเงินสด ไม่ยอมให้โอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือไม่มีใบเสร็จรับเงินจากสรรพากรหรือประกันสังคมคืนให้เมื่อไปชำระเงินมาแล้ว อย่างนี้ต้องรีบตรวจสอบ เป็นต้น

6. ความมั่นคง

ธุรกิจของลูกค้าไม่ได้เปิดแค่ปีหรือสองปี ทางบริษัทที่ให้บริการจะต้องมีความมั่นคงพอสมควร หรือไม่เลือกนักบัญชีที่ทำกันเองคนหรือสองคน หรือทำกันแบบสามีภรรยา เพราะถ้าเกิดมีปัญหาอะไร อาจจะเลิกทำไปเฉยเลยก็เป็นได้ วิธีการคือตอนเลือกสำนักงานบัญชีให้เข้าไปที่สำนักงานบัญชีตรวจสอบหรือสอบถามเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน

7. ประสบการณ์

เพราะการทำงานผิดพลาด เป็นผลให้ธุรกิจเสียหายหรือเจ๊งได้ ดังนั้นควรมีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจที่ทำ แนะนำได้ชัดเจน ให้นัดคุยกับคนที่รับผิดชอบ และสอบถามเกี่ยวกับแผนการพัฒนาคน เนื่องจากประสบการณ์ของนักบัญชีเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการธุรกิจของลูกค้าอย่างมาก

8. เทคโนโลยี

ควรมีเครื่องไม้เครื่องมือทีทันสมัย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งให้สอบถามระบบการสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันการอ้างว่าระบบล่ม ติดไวรัส ข้อมูลหายเป็นต้น โดยเทคโนโลยีนอกจากจะให้ความสะดวกรวดเร็วแล้วยังทำให้งานเป็นระเบียบ สะดวกสบายแก่เจ้าหน้าที่และลูกค้าเองด้วย

9. วิธีการทำงานของสำนักงานว่าเป็นอย่างไรถูกตรงตามที่ต้องการหรือเปล่า

ถ้าเป็นไปได้อาจขอดูงานว่าเป็นอย่างไร ตรวจเช็คระบบงานภายในสำนักงานบัญชี  สอบถามพนักงานที่มอบหมายให้ดูแลงานว่ารู้เรื่องแค่ไหน

10. จำนวนพนักงานมีเพียงพอต่อการทำงานให้หรือมีความเชี่ยวชาญ

ลองถามดูว่ามีลูกค้ากี่ราย มีพนักงานกี่คน หากพบว่าสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เห็นว่าการบริการที่มีให้มักไม่ดี จะทำให้ดูแลลูกค้าได้ไม่ทั่วถึง หรือบางครั้งการจัดทำงบการเงินเพื่อนำส่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง มักจะมาแบบไม่มีเวลาให้ตรวจเช็ค

 

บทความโดย: https://www.apornbunchee.com

 694
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
เมื่อเอกสารหายก่อนอื่นคือต้องรีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานก่อนไปทำ เอกสารใหม่ที่หน่วยงานเอกสารต้นสังกัดนั้น การติดต่อราชการที่รู้สึกเสียเวลายุ่งยาก ยิ่งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งจะอยู่ในชีวิตของเราอีกนาน ทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกในการติดต่อ แต่ปัจจุบันมี “ระบบแจ้งเอกสารหายออนไลน์” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องไปโรงพัก เรามาดูการใช้งานระบบใหม่นี้กันนะคะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์