เลือกสำนักงานบัญชีอย่างไรดี?

เลือกสำนักงานบัญชีอย่างไรดี?



เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็นปัญหามากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง

1.ติดต่อกันได้ง่าย 

ถ้าเป็นสมัยก่อนผมอาจแนะนำว่าให้หาสำนักงานบัญชี ใกล้ บ้านแต่สมัยนี้การติดต่อสะดวกมาก ทั้ง Line หรือทักแชทเฟซบุ้คไปถามก็ง่ายมากๆ รวมถึงการขนส่ง ก็สบาย KERRY หรือไปรษณีย์ก็ช่วยเรานำเอกสาร ของบริษัทไปให้สำนักงานบัญชีได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการใช้ระบบ Cloud เข้ามาอีก ทำให้บางทีไม่จำเป็นต้องส่งเอกสารจริง เพียงแค่สแกนแล้วอัพเข้าไปแชร์ให้สำนักงานบัญชี ผ่านอินเตอร์เนตก็ได้

ดังนั้น ความใกล้ – ไกล จึงไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่สิ่งที่ต้องพึ่งได้คือ “การติดต่อได้ง่าย” เพราะเมื่อธุรกิจคุณกำลังจะขยาย หรือมีปัญหาเข้ามา คุณควรปรึกษาสำนักงานัญชีเกี่ยวกับ กฏหมายธุรกิจและช่องทางที่สามารถทำได้

เพราะ นั่นจะทำให้ธรุกิจคุณมีชีวิตที่ง่ายขึ้นมากๆครับ ถ้าเจอสำนักงานบัญชีที่พร้อมช่วยคุณ เมื่อคุณถามไป

2. มีตัวตนเป็นหลักแหล่ง

ข้อนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะ หลายครั้งที่ได้ยินลูกค้ามาปรึกษาว่า คนที่ทำบัญชีให้ หายไปไหนไม่รู้ เอกสารและเงินที่โอนไปก็เรียกกลับไม่ได้ นี่เลยเป็นที่มาว่า ทำไมกิจการคุณควรเลือกสำนักงานบัญชี ที่มีตัวตร อาจจะเป็นบริษัท ก็ดี หรือเป็นนักบัญชีอิสระ ก็ต้องมั่นใจว่าเค้ามีตัวตน มีสถานที่ติดต่อได้จริง เพื่อป้องกันเหตุ ได้เงินแล้วไม่ส่งงาน กับกิจการคุณในอนาคตครับ

3. อย่าเลือกสำนักงานบัญชี ที่ใหญ่ มากเกินไป

ข้อนี้ผมแนะนำเพราะเคยเจอตอนตรวจสอบงบการเงิน ของสำนักงานบัญชีใหญ่ๆพบว่า มีความผิดพลาดมากกว่าสำนักงานบัญชีขนาดเล็ก-กลาง ด้วยซ้ำ เพราะตอนที่สำนักงานใหญ่ๆรับลูกค้าใหม่ อาจเกิดจากการที่ ตัวเจ้าของสำนักงานซึ่งอาจมีความรู้ความสามารถระดับเทพ ไปติดต่อหรือช่วยเหลือลูกค้า แต่พอตอนทำงานจริงๆนั้น กลับได้พนักงานในสำนักงานมาทำบัญชีให้ และด้วยความใหญ่ ทำให้ตัวเจ้าของ ไม่มีเวลาที่จะสอบทานถึงความถูกต้อง หรือหาช่องทางที่อาจดีกว่าได้ ซึ่งผิดกับสำนักงานขนาดเล็ก-กลาง ที่คุณสามารถติดต่อกับเจ้าของสำนักงานได้เลย ไม่ผ่านน้องๆพนักงานหน้าใหม่ (น้องๆทำงานดีนะครับ แต่เจ้าของควรมีเวลามาตรวจสอบด้วย) ดังนั้นข้อนี้ผมจึงให้คำแนะนำเล็กๆไว้ ว่าถ้าหาสำนักงานที่ไม่ใหญ่มากได้ ความรอบคอบก็จะมีมากขึ้นครับ

4. ค่าบริการ

สำนักงานบัญชีที่ราคาถูกแบบผิดปกติ จะต้องมีอะไรซักอย่างซ่อนเร้น เช่น การเก็บเงินที่ยิบย่อย ค่าแฟ้ม ค่ากระดาษ ค่าไปยื่นแบบ และที่สำคัญบางสำนักงานค่าทำบัญชีรายเดือนถูก ค่าปิดงบ ค่าสอบบัญชี แทบร้องขอชีวิต ในส่วนนี้ให้เราขอราคาค่าบริการแบบรวมครบทุกอย่างจะช่วยให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อได้ ให้เลือกสำนักงานบัญชีที่ราคาปานกลาง หรือแพงขึ้นมาหน่อย(แบบมีเหตุผล) เพราะสำนักงานบัญชีเหล่านี้จะมีสัดส่วนการรับงานที่ไม่ล้นมือ เมื่อเทียบกับสำนักงานบัญชีที่คิดค่าบริการถูก

5.ประสบการณ์

สำนักงานแต่ละแห่งจะมีความเชี่ยวชาญประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันไป ยิ่งในสมัยนี้การค้าขายมีหลายรูปแบบ ถ้าสำนักงานบัญชีไม่เคยมีประสบการณ์อาจจะทำบัญชีให้เราผิดได้ เสี่ยงโดนสรรพากรปรับได้ ธุรกิจที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เช่น ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก, ขายสินค้าผ่านตัวแทนเช่น Lazada, รับเหมาก่อสร้าง, Shipping ในการคุยกับสำนักงานบัญชีให้ลองคุยลองสอบถามกับคนที่จะบันทึกบัญชีให้เราโดยตรงด้วย เพราะบางครั้งเจ้าของสำนักงานเก่งมากเป็นผู้สอบบัญชี แต่ในการบันทึกบัญชีให้ลูกค้าเป็นพนักงานทั่วไปซึ่งอาจจะไม่ได้มีความรู้ก็ได้ สำนักงานบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีเป็นเจ้าของจะมีข้อดีตรงมีความรู้หลากหลายธุรกิจเพราะประสบการณ์ตรวจสอบเยอะ แต่ส่วนใหญ่ผู้สอบบัญชีจะไม่ค่อยรับทำบัญชีเพราะงานมันจุกจิกและค่าตอบแทนน้อยครับ

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี!


ที่มา : onesiri-acc.com

 670
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ 5 หมวด คือ รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้
เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์