3 เหตุผลที่ทำไมโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีจึงมีประโยชน์

3 เหตุผลที่ทำไมโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีจึงมีประโยชน์


การจัดการการเงินของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย
, ใบเสร็จและสเปรดชีตของรายได้ จำเป็นต้องใช้วิธีต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งถ้าหากไม่รอบคอบอาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยซอฟต์แวร์หรือระบบบัญชีที่ถูกต้อง โดยการจัดเตรียมไฟล์บัญชีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเสียภาษี ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาพึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมันสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากมายดังต่อไปนี้

โปรแกรมบัญชีสามารถทำงานได้อัตโนมัติไม่ซับซ้อน

            การรวบรวมข้อมูลแบบเดิมอาจทำให้ผู้ที่รับทำบัญชีจะต้องมานั่งป้อนข้อมูลเป็นเวลานานและทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ ดังนั้นผู้ทำบัญชีหรือธุรกิจจึงควรใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมในการป้อนข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติภายในครั้งเดียว ด้วยซอฟต์แวร์และโปรแกรมสมัยใหม่สามารถทำให้ธุรกิจเข้าใจการชำระเงินของลูกค้า รวมถึงประวัติการซื้อของลูกค้าและสามารถเรียกใช้ใบแจ้งหนี้ทำให้การชำระเงินสามารถทำได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยประวัติการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้ทำบัญชีประหยัดเวลาและยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง

ช่วยธุรกิจจัดการภาษี

            การใช้ระบบ และโปรแกรมบัญชีที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจบันทึกและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทำให้งานบัญชีของคุณง่ายยิ่งขึ้นและสะดวกในการจัดการภาษี นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บางตัวยังมีระบบที่สอดคล้องกับกฎของสำนักงานภาษีด้วยการจัดรูปแบบเอกสารต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับการจัดการภาษีในช่วงเวลาเสียภาษี

ลดค่าใช้จ่าย

           โปรแกรมบัญชีอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดเงินได้ในระยะยาว และช่วยลดการจ้างพนักงานทำบัญชีได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ยังมีรูปแบบการกำหนดราคาตามการสมัครโดยมีต้นทุนที่ต่ำ ด้วยการสมัครรับข้อมูลจะช่วยให้คุณได้รับการอัพเดต, การสนับสนุนและเครื่องมือต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถมุ่งความสนใจไปที่การดำเนินธุรกิจของคุณได้จริง

>>
อ่านบทความ 5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)


บทความโดย:
 https://www.arac.co.th

 984
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์