เลือกโปรแกรมบัญชีแบบใด ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชีและนักบัญชีที่สุด

เลือกโปรแกรมบัญชีแบบใด ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชีและนักบัญชีที่สุด

เลือกโปรแกรมบัญชีแบบใด ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชีและนักบัญชีที่สุด

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชีในท้องตลาดมีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายแบรนด์ จนทำให้ผู้ทำบัญชีเองเกิดความสับสนในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่จะนำมาใช้งาน ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแยกได้ดังนี้

การทำงานที่ตอบโจทย์

การทำงาน
ที่ตอบโจทย์

สำนักงานบัญชี และ นักบัญชี ควรสำรวจลักษณะของธุรกิจและความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาพิจารณาว่าจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นอะไรในโปรแกรมบัญชีได้บ้าง อีกทั้งโปรแกรมบัญชีที่ดียังต้องสามารถใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัย สามารถจัดการงานบัญชีได้ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูล การจัดการภาษี จัดการงบการเงิน ควบคุมและตรวจสอบภายใน รวมถึงมีการให้ทดลองใช้งานก่อนการตัดสินใจซื้อโปรแกรมได้ และโปรแกรมบัญชีนั้นต้องได้รองรับตามมาตรฐานซอฟต์แวร์เพื่อภาษีสรรพากรของกรมสรรพากรอีกด้วย

ตัวอย่างฟังก์ชั่นพื้นฐานที่โปรแกรมบัญชีควรมีเพื่อช่วยสำนักงานบัญชีและนักบัญชี ได้แก่
  • Import ข้อมูลลูกค้าจากกรมสรรพกร ตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้ง่าย
  • Import-Export ข้อมูลซื้อ ขาย รับ จ่าย รายการรายวัน (GL) ได้แบบ Auto และสามารถกำหนดแผน (Plan) ได้ล่วงหน้า
  • ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ลดภาระในการจัดเตรียมภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนจัดทำเอกสารใบกำกับภาษี
  • สะดวก รวดเร็ว ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ในการทำ ภงด.3, 53, ภพ.30 สามารถ Export file แล้วนำยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต
  • สร้างรูปแบบงบการเงินได้หลากหลายรูปแบบ เช่น งบดุล, กำไรขาดทุน, งบกระแสเงินสด, หมายเหตุประกอบงบการเงิน, งบการเงินตามรูปแบบกรมสรรพกร, ภงด.51, ภงด.50
  • ตรวจสอบข้อมูลด้วยระบบ Audit & Internal Control เช่น ป้องกันการ Run ข้ามเอกสาร, เตือนเมื่อเลขที่ใบกำกับภาษีขายซ้ำ, ตรวจสอบสินค้าติดลบ, ตรวจสอบข้อมูลที่ยังไม่ post gl, ตรวจสอบ user ที่ลบหรือแก้ไขเอกสารโดยพลการ

ได้รับการยอมรับจากนักบัญชี

ได้รับการยอมรับ
จากนักบัญชี

เพื่อให้โปรแกรมบัญชีได้รับการยอมรับจากนักบัญชี โปรแกรมบัญชีควรใส่ใจในด้านความสะดวกในการใช้งาน ข้อมูลควรมีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ สามารถลดความผิดพลาด และทำให้นักบัญชีสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากได้รับการยอมรับจากนักบัญชีแล้ว ยังต้องสามารถช่วยขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับได้หลายประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจ SMEs และควรได้รับการยอมรับจากกหน่วยงานภาครัฐ

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

บริการหลังการขาย
ที่ยอดเยี่ยม

โปรแกรมบัญชี ควรมีบริการหลังการขาย เพราะบริการหลังการขายเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลลูกค้าและควรครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงินและบัญชี เพื่อช่วยให้ผู้ทำบัญชีสามารถแจ้งปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานได้ โดยมีทีมงานที่สามารถถาม-ตอบปัญหาต่างๆ ของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น สำนักงานบัญชี และ นักบัญชี ควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าโปรแกรมบัญชีที่เลือกใช้มีบริการหลังการขายหรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายค่าบริการเพิ่มเติมหรือเปล่า

พัฒนาโดยทีมงานมืออาชีพ

พัฒนาโดยทีมงาน
มืออาชีพ

โปรแกรมบัญชี ควรมีทีมงานที่มีความสามารถและมีคุณภาพ พร้อมทุ่มเทและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี การเงิน

โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ดีอย่างไร?

เหตุผล ที่สำนักงานบัญชี และนักบัญชี จำเป็นต้องใช้โปรแกรมบัญชี

การใช้โปรแกรมบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นที่สำนักงานบัญชี และนักบัญชีควรพิจารณาเพื่อให้งานทางบัญชีเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีความแม่นยำในการดำเนินงานขององค์กร และลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี โปรแกรมบัญชีช่วยทำให้กระบวนการทำบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ดังนั้นเหตุผลที่สำนักงานบัญชีและนักบัญชีจำเป็นต้องใช้โปรแกรมบัญชี มีดังนี้

  1. การลดความผิดพลาด: โปรแกรมบัญชีช่วยลดโอกาสของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบัญชี เนื่องจากการคำนวณและกระทำต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือมากกว่ามนุษย์ในบางกรณี
  2. ประหยัดเวลา: โปรแกรมบัญชีช่วยให้กระบวนการทางบัญชีเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ลดเวลาในการป้อนข้อมูลและสร้างรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีกับการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิม เช่น ค่าน้ำมันรถยนต์หรือค่าเดินทาง
  3. ความแม่นยำ: โปรแกรมบัญชีทำการคำนวณและกระทำต่าง ๆ ด้วยการใช้โครงสร้างและตัวเลขที่แม่นยำ ลดความเสี่ยงในการทำข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ทำการคำนวณ
  4. ติดตามรายรับรายจ่าย: โปรแกรมบัญชีช่วยให้สามารถติดตามรายรับและรายจ่ายขององค์กรได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจและการเงินได้
  5. รายงานทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการสร้างรายงานทางการเงินที่เป็นระบบและตรงไปตรงมา ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถดูและตรวจสอบสถานะการเงินขององค์กรได้อย่างสะดวก
  6. ประหยัดทรัพยากร: การใช้โปรแกรมบัญชีช่วยลดการใช้กระดาษและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางบัญชี ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและจัดเก็บข้อมูล

หากสำนักงานบัญชีและนักบัญชีกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs เราขอแนะนำโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และนักบัญชียอมรับพร้อมรองรับการใช้งานสำหรับสำนักงานบัญชีได้ทุกอย่าง อีกทั้งยังคุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยประหยัดเวลาในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีแบบครบวงจร

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับสำนักงานบัญชี ได้ที่
บทความ: www.onlinesoft.co.th
 329
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์