ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ


ภาษีคำนวณอย่างไร

            กฎหมายระบุไว้ว่าบุคคลที่มีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามฐานภาษีแบบขั้นบันได โดยเงินได้สุทธิที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น เป็นดังนี้
   

เงินได้สุทธิ     =    เงินได้พึงประเมินทั้งปี - ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) - ค่าลดหย่อน


เมื่อทราบยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ดังนี้

 ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่  ช่วงเงินได้สุทธิแต่ละขั้น อัตราภาษี (ร้อยละ)
 ภาษีแต่ละขั้น
 0-150,000 บาท  150,000 บาท  ได้รับยกเว้น  -
 150,001-300,000 บาท  150,000 บาท 5  7,500 บาท
 300,001-500,000 บาท  200,000 บาท 10  20,000 บาท
 500,001-750,000 บาท  250,000 บาท 15  37,500 บาท
 750,001-1,000,000 บาท  250,000 บาท  20  50,000 บาท
 1,000,001-2,000,000 บาท  1,000,000 บาท  25  250,000 บาท
 2,000,001-4,000,000 บาท  2,000,000 บาท  30  600,000 บาท
 4,000,001 บาทขึ้นไป    35  


รายได้เท่าไรจึงเริ่มเสียภาษี

            การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั้งปีเท่ากับ 240,000 บาท (รายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท) จะยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการคำนวณเป็นดังนี้

            เงินได้พึงประเมินทั้งปี                                                                    240,000    บาท
            หัก ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 40 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท)    (60,000)    บาท
            หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                                  (30,000)    บาท
            เงินได้สุทธิ                                                                                 150,000    บาท

            เมื่อเงินได้สุทธิอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงขั้นเงินได้สุทธิที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ทำให้ยังไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่เริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือ ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาท นั่นเอง
 

            อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณภาษีแล้ว ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม แต่หากมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด อย่างเช่น ผู้ที่ทำงานประจำกินเงินเดือน หากมีรายได้เกิน 50,000 บาท ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ โดยยื่นภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไปนะคะ


 1258
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง
สูตรการบัญชี ที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึง รวมสูดรบัญชี ดังนี้
การยื่นภาษีและภาษีที่ต้องเสียแต่ละประเภท เมื่อเกิดความล่าช้าหรือเกินกำหนด จะมี "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าปรับทางอาญาด้วย โดยสามารถอธิบายเจาะลึกได้ดังนี้
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์