สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีกี่ประเภท

สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีกี่ประเภท



การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน

1. ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ

คือผู้ที่รับจ้างทำบัญชีในนามบุคคลธรรมดา  ไม่ได้มีการจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคล  
  
แม้จะประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่านิติบุคคล  เช่น ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ อาจจะมีงานประจำอยู่แล้ว  และนำความรู้ความสามารถที่มีมารับจ้างทำบัญชี ในนามส่วนตัวเพิ่มเติม ก็เป็นไปได้

งานบัญชีเป็นงานวิชาชีพ รูปแบบกิจการจึงไม่ได้สำคัญไปกว่าความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพท่านนั้นๆ

2. นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี

สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้ “นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี” ไม่ว่าจะทำบัญชี หรือ สอบบัญชี ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วเสร็จ

โดยนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีนั้น จะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี 

เมื่อขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สภาวิชาชีพวิชาชีพบัญชีจะออกหนังสือรับรองตามตัวอย่างด้านล่างนี้ให้  ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีจากสำนักงานบัญชีได้

3. สำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพ ให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี

โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิจะเข้าร่วมการรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ คือ

  1. สำนักงานบัญชีซึ่งรับทำบัญชีของธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 30 ราย
  2. หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว
  3. มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน
  4. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  5. ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
  6. หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  7. ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตาม 2 และ 6 ด้วย

สำนักงานบัญชีซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจะได้รับหนังสือรับรองตามตัวอย่างด้านล่างนี้ ซึ่งมีกำหนดอายุ 3 ปี

หากสำนักงานบัญชีใดอ้างว่าเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ ซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้านี้ได้

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : โดย Accounting Center

 703
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
ในวงการวิชาชีพบัญชี ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากด้านเทคโนโลยีในวงการวิชาชีพบัญชียังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดอย่างใน ปี 2020 แนวโน้มจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นักบัญชีจะต้องเตรียมความพร้อมและรับมืออย่างไร
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์