PDCA วงจรบริหารในงานบัญชี

PDCA วงจรบริหารในงานบัญชี



P = Plan คือ แผนดำเนินการ กำหนดเป้าหมายแล้ววางแผนกิจกรรม เพื่อให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง


สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน

D = Do คือ ลงมือดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยระหว่างนั้นต้องตรวจสอบด้วยว่าได้ดำเนินการไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย

กิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ลงมือปฏิบัตินั้น ผลลัพธ์ของการดำเนินการจะสรุปออกมาเป็นรายงานการเงินประจำเดือน ซึ่งมิได้มีเพียงงบดุล งบกำไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น ตารางคำนวณต้นทุนหรือตารางควบคุมกำไรก็ล้วนแต่เป็นรายงานงานเงินรายเดือนที่สำคัญ

C = Check คือ ทำการวิเคราะห์ โดยประเมินผลลัพธ์จากการตรวจวัด เปรียบเทียบผลลัพธ์ต่อเป้าหมาย มีความชัดเจนในประเด็นที่ต้องปรับปรุง

การตรวจสอบโดยวิเคราะห์ความแตกต่าง เปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์การประกอบการกับงบประมาณ หรือต้นทุนมาตรฐาน ทำให้เข้าใจหัวข้อปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไปอย่างชัดเจน

A = Action คือ ลงมือแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานเดิมให้สูงขึ้น

การดำเนินมาตรการตามหัวข้อปัญหาที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขซึ่งมีความชัดเจนแล้ว พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นที่เชื่อมต่อไปยังวงจร PDCA วงจรใหม่ต่อไป โดยอาจพิจารณาแนวทางแก้ไข ดังนี้

• มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้

• ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม

• ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้

• เปลี่ยนเป้าหมายใหม่

ทั้งนี้วงจร PDCA จะต้องหมุนต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อผลักดันเป้าหมายให้สูงขึ้นต่อๆไป บัญชีทางการบริหารนำวงจรนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อให้วงจรการบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ทความโดย : www.th.jobsdb.com
 1429
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์,กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์,พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์