ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด

ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด


ส่วนลด (Discount)
 
หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ

       1.  ส่วนลดการค้า (Trade Discount) ส่วนลดการค้าเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้ขายพยายามจูงใจลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าของตนโดยการให้ส่วนลดทันทีที่ซื้อสินค้าจากราคาที่ตั้งไว้ (Price list)  และสิ่งที่สำคัญของส่วนลดการค้า คือ ไม่มีการบันทึกบัญชีในส่วนที่เป็นส่วนลด จะบันทึกบัญชีซื้อสินค้าตามจำนวนเงินที่หลังหักส่วนลดการค้าแล้ว

      2.  ส่วนลดเงินสด  (Cash Discount) ส่วนลดเงินสด หมายถึง ส่วนลดที่เจ้าหนี้ยอมลดให้แก่ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้นำเงินสดมาชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ วัตถุประสงค์ของการให้ส่วนลดเงินสดเพื่อต้องการจูงใจให้ลูกหนี้นำเงินมาชำระหนี้ให้เร็วขึ้น ส่วนลดเงินสด จะมีความเกี่ยวข้องกับ "เงื่อนไขการชำระเงิน" (Terms of payments) โดยปกติจะระบุไว้ในใบกำกับสินค้า  เช่น

            2/10, N/30            หมายความว่า  ถ้าชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อภายใน 10 วัน จะได้รับส่วนลด 2% ของหนี้ที่ชำระ แต่อย่างไรต้องชำระหนี้ภายใน 30 วัน
            2/EOM, N/60          หมายความว่า ถ้าชำระภายในสิ้นเดือนที่มีการซื้อสินค้านั้น จะได้รับส่วนลด  2% แต่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 60 วัน (EOM ย่อมาจาก End of Month)
            2/10 EOM, N/60     หมายความว่า ถ้าชำระหนี้ไม่เกินวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการซื้อสินค้า จะได้รับส่วนลด 2% ของหนี้ที่ชำระ แต่จะต้องชำระหนี้ภายใน 60 วัน

            การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับส่วนลดเงินสด  จะต้องบันทึกทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขายดังนี้

            2.1  ส่วนลดรับ (Purchase discount) เกิดขึ้นเมื่อกิจการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ได้รับส่วนลด  เป็นการบันทึกบัญชีด้านผู้ซื้อ

            2.2  ส่วนลดจ่าย (Sale discount) เกิดจากกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ภายในระยะเวลาที่กิจการกำหนดจะให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้  เป็นการบันทึกบัญชีด้านผู้ขาย
 111966
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน
3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้
โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
คำว่า audit คืออะไร ในบางมุมคนอาจแทนความหมายของ audit เป็นอาชีพ ซึ่งหมายถึงอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งอาชีพ audit นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภท หรือในบางมุมหากมองว่า audit คือการกระทำ คำว่า audit จะมีความหมายว่า การตรวจสอบซึ่งก็สามารถแบ่งได้ออกเป็นอีกหลายประเภทเช่น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์