การสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40

การสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40



ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 และพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 นั้น

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.1 มีสัญชาติไทย

1.2 เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ เลข 7

1.3 เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว   เพื่อรอการส่งกลับ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็นเลข 0 (00)

1.4 ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบุูรณ์

1.5 ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39

1.6 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น

1.7 หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้น  ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)

2. หลักฐานการสมัคร

2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

2.2 แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน

3. สถานที่ในการสมัคร

3.1 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา  ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

3.2 อินเตอร์เน็ต WWW.sso.go.th/section40_regist

3.3 บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น (7-11)

4ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ

กรณีตาย และกรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  5  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

หมายเหตุ :

1)  ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

2)  กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

5. ช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

5.1 เคาน์เตอร์บริการ 

5.2 หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร

ชำระงวดปัจจุบัน  ได้ที่

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)

4. ธนาคารออมสิน

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

5.3 ช่องทางอื่น

ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่ ไปรษณีย์ (ธนาณัติ) เสียค่าธรรมเนียมตามที่ไปรษณีย์กำหนด

หมายเหตุ

1. การจ่ายเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดแจ้งพนักงานให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าหรือจ่ายเงินออมเพิ่ม เพื่อไม่ให้จ่ายเงินผิดพลาด

2. จ่ายเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคาร ธนาคารจะหักเงินในบัญชีของผู้ประกันตน ทุกวันที่ 20 ของเดือน

3. ลืมหรือขาดส่งเงินสมทบ ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและส่งเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน

4. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

5. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ถูกตัดสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

6.1 เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านามชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ เปลี่ยนแปลงสำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือทางเลือกการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

6.2 กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกแล้ว  จะมีผลในเดือนถัดไป

6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)

ที่มา : LINK

 731
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ
“ลาป่วยกรณีไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาคาใจชาวออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็ตาม เพราะไม่แน่ใจว่าลาป่วยแบบนี้ได้ไหม จะให้เอ่ยปากถามตรง ๆ ก็กลัวจะได้คำตอบว่ากฎระเบียบของบริษัทเป็นแบบนี้ ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าในใจจะแอบสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า สวัสดิการวันลาที่บริษัทให้มันแฟร์กับพนักงานอย่างเรา ๆ หรือเปล่า? ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ ยิ่งในยุคแห่งโควิด-19 ที่วันลาป่วยต้องหายไปฮวบฮาบจนทำให้หลายคนวันลาป่วยแทบหมด ไม่เหลือให้ป่วยอะไรได้อีก เราเลยอยากชวนมาไขข้อข้องใจเรื่องสิทธิการลาป่วยที่มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราควรได้กันดีกว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์