ความสำคัญของการลงทุน และความสำคัญของงบการเงิน (งบดุล) คืออะไร

ความสำคัญของการลงทุน และความสำคัญของงบการเงิน (งบดุล) คืออะไร



นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายใน
บการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้

1. งบแสดงฐานะการเงิน หรือ งบดุล (Balance Sheet) สามารถระบุถึงความมั่งคั่งของสินทรัพย์ หากบริษัทไหนมีโครงสร้างของงบดุลที่แข็งแรง สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในระยะยาว
สินทรัพย์ จะแบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินได้ใน 1 ปี โดยหลัการ คือ เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ใช้เวลาแปลงเป็นเงินมากกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

หนี้สิน ตามหลักบัญชีแล้ว จะแบ่งออกเป็นหนี้สินหมุนเวียนกับ เป็นหนี้สินที่ต้องใช้ใน 1 ปี กับ หนี้สินไม่หมุนเวียนที่เป็นหนี้สินที่ชำระตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป เมื่อแบ่งชนิดของสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนแล้ว เราจะสามารถมองเห็นถึงสภาพคล่องของบริษัท เพราะธุรกิจควรมีสินทรัพย์หมุนเวียน (เงินสดหรือลูกหนี้) มากกว่าหนี้สินระยะสั้น (เงินกู้ระยะสั้นที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี)

ส่วนของเจ้าของ กำไรสะสม เป็นเงินทุนเริ่มแรกบวกกับกำไรสุทธิที่เกิดจากการทำมาหากินของบริษัท ตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทจนถึงปัจจุบัน หากบริษัทมีกำไรสะสมมาก ก็แสดงถึงสามารถในการทำมาหากินที่มีประสิทธิภาพและโอกาสในการปันผลสูง

หากต้องการทราบถึงความมั่นคงของกิจการ สามารถดูจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หากธุรกิจมีหนี้สินจำนวนมากแต่ส่วนของเจ้าของน้อยจะถือว่าไม่ดี ยิ่ง “หนี้น้อยส่วนของทุนหนา” ก็จะยิ่งดูดี ดังนั้นอัตราส่วนนี้จะต้องไม่เกิน 2 เท่า

2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) สามารถระบุถึงผลการดำเนินงานของบริษัท โดยเราต้องการหุ้นที่ รายได้เพิ่มต่อเนื่องหรือไม่ หรือมีกำไรเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด เราจะต้องคำนึงถึงทั้ง รายได้ และ กำไรสุทธิ ซึ่งทั้งสองตัวเลขนี้ ต้องเป็นบวกและควรจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือไตรมาสที่แล้ว และโฟกัสไปที่ ค่าใช้จ่าย ของบริษัทด้วย ว่ามีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการขายและบริหารลดลงหรือไม่ สุดท้ายนี้การจะมีกำไรสุทธิเพิ่มควรจะมาจาก รายได้เพิ่ม ไม่ควรมาจากการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียวเพราะจะเป็นการเพิ่มกำไรที่ไม่ยั่งยืน

3. งบกระแสเงินสด  ทำให้รูุ้ถึงสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทำให้บริษัทสามารถใช้ในการวางแผนการเงินในอนาคตเนื่องจากงบกระแสเงินสดจะแสดงให้ทราบถึงที่มาที่ไปของเงินสดว่า บริษัทได้รับ หรือ จะต้องจ่ายเงินสดจากแหล่งใด เป็นจำนวนเท่าใด

4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ใช้ดูขยายความรายการต่างๆของงบที่พูดมาด้านบน รวมถึงดูคดีความฟ้องร้อง และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. รายงานของผู้สอบบัญชี   งบการเงินจะต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นผู้แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบว่า งบการเงินนั้นถูกต้องตามควรในสาระสำคัญ และได้จัดทำตามมาตราฐานการรายงานทางการเงินหรือไม่ มีข้อบ่งชี้ในเรื่องความผิดปกติที่ผู้วิเคราะห์งบการเงินควรให้ความสนใจเป็นพิเศษหรือไม่

โดยปกติแล้วหากเราจะทำงบการเงินที่เก็บตัวเลขมาลงใน excel จะทำให้เกิดความผิดพลาดสูง ดังนัั้นองค์กรควรมองเห็นความสำคัญกับซอฟต์แวร์บัญชี #Winspeed ในการทำงบการเงินเพื่อความถูกต้อง  

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 1227
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์