“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?

“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?


ภาษี” 
เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

ภาษีทางอ้อมก็ต้องยอมรับว่าเราจะไปบริหารจัดการอะไรมากไม่ได้เพราะยังไงก็ต้องเสีย แต่อย่างภาษีทางตรงโดยเฉพาะภาษีเงินได้ จริงๆเราสามารถวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยลงได้ โดยวิธีหลักๆก็คือ การซื้อ SSF RMF และประกันชีวิต ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนจากทางกรมสรรพากร

นอกเหนือจากภาษีทางตรงและทางอ้อมที่เราจะต้องเสียให้กับรัฐบาล จริงๆยังมีภาษีอีกตัวนึงที่เป็นศัตรูตัวร้ายกับแผนการเงินของเราก็คือ “ภาษีสังคม”

เนื่องด้วยมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม แล้วก็ต้องยอมรับว่าการที่เราจะมีสังคมได้ ยังไงก็มีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการไปกินเหล้ากับแก๊งเพื่อนๆ ออกไปเที่ยวกับเพื่อนที่ทำงาน หรือการซื้อของฝากเวลาที่เราไปเที่ยวกลับมา ภาษีสังคมก็คือรายจ่ายอะไรประมาณนี้แหละ

จากที่ลองดูบัญชีรายรับรายจ่ายของหลายๆคนที่เพิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงิน แล้วอยากเริ่มต้นจัดสรรเงิน รายจ่ายนึงที่เจอเยอะมากๆก็คือรายจ่ายเรื่อง “ภาษีสังคม” เนี่ยแหละ

สำหรับเราคิดว่าภาษีสังคมยังไงก็เป็นรายจ่ายที่สำคัญตัวนึง ไม่ต้องถึงกับตัดทิ้งทั้งหมดและควรกันงบให้กับภาษีสังคมของเราในแต่ละเดือนอย่าให้บานปลายก็พอแล้วล่ะ ถ้าใครชอบปาร์ตี้บ่อยๆ พี่ทุยว่าความสนุกของปาร์ตี้คือคนที่เราไปด้วยหรือเพื่อนเรานี่แหละ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะเลย หรือถ้าใครรู้ตัวว่าเวลาไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนเปลืองตังค์เยอะแน่ๆ ก็จะแนะนำว่าให้กำหนดไปว่าเดือนนึงจะไปไม่เกินกี่ครั้ง 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง เป็นต้น บางคนเห็นมี 5-6 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถ้าเราประหยัดตรงนี้ได้เราก็ประหยัดเงินไปได้มากกว่า 2,000-3,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียวนะ

ถ้าอยากเริ่มต้นจัดสรรรายรับรายจ่าย เราลองมาโฟกัสที่รายจ่ายภาษีสังคมดู เชื่อได้เลยว่าหลังจากที่จดบัญชีรายรับรายจ่ายของเราสัก 1 เดือนแล้ว ต้องมีตกใจกันบ้างแน่นอน ว่าทำไมเราใช้เงินไปกับภาษีสังคมมากมายขนาดนี้



ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com  หรือ Click  

 852
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
ผู้ทำบัญชี อย่าลืม “5 เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎมาย”
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์