เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี

เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี


ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

“นักกฎหมาย เปรียบเสมือน เหยี่ยว” : “นักบัญชี เปรียบเสมือน นกพิราบ”

อย่างไรก็ตามนักบัญชีก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องของกฎหมาย แม้จะไม่มีความจำเป็นถึงกับจะต้องสามารถอ้างมาตราของกฎหมายได้ในทุกครั้ง แต่นักบัญชีก็จะต้องรู้ว่าเรื่องที่จะต้องทำของงานบัญชีนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง

กฎหมายและข้อปฏิบัติหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ที่นักบัญชีจำเป็นต้องรู้
  1. พระราชบัญญัติการบัญชี 2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547
  3. ประกาศกรมทะเบียนการค้า (ที่ยังมีผลบังคับอยู่)
  4. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  6. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
  7. ประมวลรัษฎากร
  8. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
  9. มาตรฐานการบัญชี (ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย)
  10. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๖๑
  11. ข้อกำหนดอื่น(ที่อาจมี อันเกิดจากลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุม)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.greenprokspforsme.com  หรือ Click
 507
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์