ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?

ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?


หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

ผู้สอบบัญชีคือใคร?

ผู้สอบบัญชี คือ บุคลภายนอกที่มีใบอนุญาตและเป็นอิสระจากกิจการ มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่างบการเงินของกิจการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร  โดยการที่จะได้รับใบอนุญาตผู้สอบบัญชี  บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบและจะต้องมีชั่วโมงฝึกงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือกรมสรรพากรกำหนด นอกจากนี้ผู้สอบบัญชียังช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดอ่อนการควบคุมภายในของกิจการที่พบระหว่างการตรวจสอบให้แก่ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการได้อีกด้วย

ผู้สอบบัญชี มีกี่ประเภท?

ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีมี 2 ประเภท ได้แก่

  1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA : Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
  2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Audittor) คือ ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
ประภทผู้สอบบัญชี สิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ดังนั้นกิจการจะต้องคำนึงถึง "ประเภทและขนาด" ของกิจการในการเลือกผู้สอบบัญชี

โดยหากเป็น "บริษัทจำกัด" งบการเงินจะต้องถูกรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น

หน้าที่ของผู้สอบบัญชี คืออะไร?

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ดังนี้

  1. ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยปฏิบัติงานตามแนวทางที่สภาวิชาชีพบัญชี หรือ กรมสรรพากร กำหนด
  2. จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อรายงานผลการตรวจสอบ

บริษัทจำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีหรือไม่?

จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลเหล่านี้ ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินของตนก่อนจะนำส่งหรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง ประเทศประกอบธุรกิจในไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • มูลนิธิ สมาคม
  • นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร

รู้หรือไม่? - การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี นิติบุคคลและผู้แทนต้อง ระวังโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท!! 

นอกจาก นี้การไม่นำส่งงบการเงิน หรือไม่ยื่นเสียภาษี ก็จะมีโทษ ปรับอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น

  • ไม่ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และวันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่จัดทำ/ไม่ยื่นงบการเงิน: ระวังโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 1296
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
“ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?”
โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์