จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ


ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร

กรณีที่บริษัทมีตราประทับอยู่แล้ว แต่อาจชำรุด สูญหาย หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ บริษัทจะต้องแจ้งจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับใหม่

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  • การจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ
  • กรณีตราประทับบริษัทสูญหาย ให้ระบุ คำว่า "ตราหาย" แทนที่การประทับตราในคำขอจดทะเบียนและหนังสือมอบอำนาจ
  • กรณีตราประทับบริษัทชำรุด ให้ระบุ คำว่า "ตราชำรุด"
  • กรรมการผู้มีอำนาจ มีหน้าที่ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับ


เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  1. แบบ บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดและหน้าหนังสือรับรอง
  2. คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  5. ดวงตราสำคัญดวงใหม่
  6. หนังสือมอบอำนาจ
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

"ตัวอย่างการกรอกเอกสาร"


ค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัท 500 บาท
  • หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
  • รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.twentyfouraa.com
 19310
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์