การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ

การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ


1.มีแผนกจัดซื้อป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้องกับ


1.1 การบัญชีทั่วไป

1.2 การทำบัญชีสินค้า

1.3 การรับของ

1.4 การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

1.5 การจ่ายเงินให้เจ้าหนี้

2. การซื้อกระทำโดย

2.1  

2.2 การจัดซื้อแต่ละครั้ง แผนกผลิตและคลังเป็นผู้เสนอแนะเกี่ยวกับชนิดและ ปริมาณของสินค้าที่จะซื้อ

2.3 สั่งซื้อจากรายการราคาขายของผู้ขายที่ได้รับการอนุมัติ

2.4 มีการเปรียบเทียบราคาจากผู้ขายหลายแห่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด

2.5 ใบสั่งซื้อทำขึ้นโดย

- เรียงลำดับหมายเลขไว้ล่วงหน้า

- มีการอนุมัติการสั่งซื้อ

2.6 สำเนาใบสั่งซื้อได้ส่งไปยัง

- แผนกบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำใบสำคัญสั่งจ่าย

- แผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจรับของ

2.7 ใบรับของแสดงจำนวนที่นับได้จริง พร้อมทั้งลายเซ็นผู้ตรวจรับอย่างน้อย 2 คน

2.8 ในใบรับของได้ระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ในกรณีที่จะต้องมีการทดสอบคุณภาพใน ภายหลัง

2.9 ของที่มีคุณภาพพิเศษ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบจากผู้ที่มีความชำนาญใน เรื่องนั้นโดยเฉพาะ

2.10 ใบรับของที่มีเลขที่เรียงลำดับและมีสำเนาส่งให้

- แผนกบัญชี เพื่อเก็บไว้กับใบสั่งซื้อ

- แผนกจัดซื้อ เพื่อติดตามรายการที่สั่งซื้อแล้ว แต่ยังไม่ได้รับของ

- แผนกคลังสินค้า เพื่อบันทึกบัญชีพัสดุคงเหลือ

- เก็บไว้ที่แผนกรับของ หรือเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตรวจรับของ

3. เมื่อมีการคืนของ จะจัดการโดยแผนกคลังสินค้าและแผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจรับของ

3.1 ติดต่อเพื่อขอใบลดหนี้

3.2 แผนกจัดซื้อและบัญชีได้รับแจ้งเรื่องราวการคืนสินค้า

4. การตรวจสอบ

4.1 ใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี จากผู้ขายได้ตรวจสอบกับเอกสารเหล่านี้ก่อนจ่ายเงิน

- ใบสั่งซื้อ

- การรับของ

- รายงานการตรวจสอบคุณภาพ (ถ้ามี)

4.2 แผนกบัญชีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ

- การสั่งซื้อ

- การรับของ

4.3 มีหลักฐานแสดงว่ามีการตรวจสอบใบส่งของในเรื่องต่อไปนี้

- ราคา

- ค่าขนส่ง

- การลดราคา หรือข้อโต้แย้งต่างๆ

4.4 ใบสำคัญที่จ่ายเงินแล้ว จะต้องมีการการทำเครื่องหมายเพื่อป้องกันการจ่ายซ้ำ

5. ใบสำคัญสั่งจ่ายจะต้องจัดทำสำหรับการซื้อและค่าใช้จ่ายทุกรายการ

6. ใบสำคัญสั่งจ่ายและเอกสารประกอบทุกฉบับ จะต้องมีเครื่องหมายแสดงว่าได้จ่ายเงิน แล้ว

7. จะต้องมีการตรวจสอบระยะเวลาที่จะต้องจ่ายด้วย เพื่อป้องกันการเบิกจ่ายผิดงวด

8. ใบสำคัญการสั่งจ่ายจะต้องมีการตรวจสอบและอนุมัติ




ทความโดย : www.jarataccountingandlaw.com
 470
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีสิ้นปีเป็นกระบวนการในการจัดการเรื่องการเงินเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีประจำปีที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงการกำหนดเวลาการขายการซื้อหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อให้สามารถดำเนินการในกรอบเวลาที่ดีที่สุด การชะลอการกระทำหรือสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นก่อนสิ้นปีจะมีผลอย่างมากต่อการเรียกเก็บภาษี มีปัจจัยภายในและภายนอกหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อการวางแผนภาษีสิ้นปีเช่นกัน
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
ส่วนลดจ่าย หรือค่าลดหย่อน การส่งเสริมการขายแคมเปญการขาย Flexi comBo Flash Sale  การขายแบบให้ส่วนลดลูกค้าหลังจากนั้นช่องทางการขายจะโอนส่วนลดที่ให้ลูกค้าคืนกลับให้บริษัท เป็นรายการที่พบเจอได้ตลอดเวลาสำหรับร้านค้า Online  ที่ขายสินค้าบน  MarketPlaces  ต่างๆ ทั้งนี้สรรพากรมีหลักการในการออกส่วนลดให้ปรากฎในใบกำกับภาษีไว้ดังนี้
ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง
หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี  หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร  ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง  เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ  หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์