เงินค่ามัดจำ คืออะไร

เงินค่ามัดจำ คืออะไร


เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น

ในทางบัญชี เงิน ค่า มัดจำ คือเกิดจาก การจ่ายเงิน หรือ รับเงิน แต่ยังไม่ได้ให้บริการ หรือส่งสินค้า ให้ได้ครบเต็มจำนวนมูลค่าของสินค้านั้น หรือบางครั้ง จ่ายเงินเต็มจำนวนของมูลค่าหรือสินค้าของบริการนั้นแล้วก็จริง แต่!! สินค้า หรือบริการยังให้ไม่ครบเต็มจำนวน ก็อาจใช้ชื่อบัญชีว่า เงินมัดจำ ในหลักการทางบัญชี ถือเป็น หนี้สิน (รายได้รับล่วงหน้า) ของกิจการ หรือค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าของกิจการ ขึ้นอยู่กับว่า ได้ได้รับมา หรือ จ่ายออกไป

ในทางกฎหมาย คำว่า “มัดจำ” ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว.

ตัวอย่างมัดจำในทางบัญชี

เช่น บริษัท A จำกัด ขายสินค้าให้กับ บริษัท b จำกัด ราคา 10,000 บาท บริษัท B จ่ายชำระ 2000 บาท ให้กับ บริษัท A

ยกตัวอย่างกรณีที่ อาจเป็นการสั่งผลิตหรือของหมด  บริษัท B ต้องการสินค้านี้ บริษัทเอง จึงได้ขอให้จ่ายเงินจองสินค้านี้ก่อน จึงเกิดชื่อบัญชี เงินมัดจำ (ในทางบัญชีถือเป็นรายได้รับล่วงหน้า) จำนวน 2,000 บาท

บึนทึกบัญชี ดังนี้

บริษัท A จำกัด

Dr.เงินสด                 2,000.-

Cr. เงินมัดจำ (รายได้รับล่วงหน้า).       2,000.-

บริษัท B จำกัด

Dr.เงินมัดจำ (รายจ่ายจ่ายล่วงหน้า)         2,000.-

Cr. เงินสด                                                         2,000.-

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ด้วย ว่าคุณใช้ระบบการซื้อสินค้าแบบใด บางครั้ง บริษัท B อาจใช่ชื่อบัญชี ค่าสินค้าจ่ายล่วงหน้า ก็ได้ (ถือเป็นเงินมัดจำเช่นกัน) หรือบริษัท A อาจจะใช้เป็นรายได้รับล่วงหน้าเลยก็ได้ เพราะถือเป็นการ รับเงินล่วงหน้าค่าสินค้า

ผิดสัญญามัดจำ

การผิดสัญญามัดจำ เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายให้จ่ายเงินมัดจำ กับฝ่าย ที่ต้องจ่ายเงินมัดจำ และมีเหตุที่ตทำให้ไม่ได้ซื้อขายกัน มีอะไรบ้าง เช่น จ่ายเงินมัดจำจองบ้าน จ่ายเงินมัดจำจองรถ จ่ายเงินมัดจำค่าสินค้า หรือบริการ เป็นต้น

กรณีผู้จ่ายเงินมัดจำผิดสัญญา

เช่น กรณีเราไปซื้อรถ ซื้อบ้าน บางครั้งอาจมีการให้จ่ายเงินจอง หรือเงินมัดมัดจำ แต่มีเหตุทำให้ไม่ได้ซื้อ หรือซื้อไม่ได้ แต่เกิดจากเราที่เป็นการผิดสัญญา สามารถขอเงินคืนได้หรือไม่?

คำตอบคือได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2563 เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 (ม7) กฎหมายนี้ออกเพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่จ่ายเงินมัดจำแล้วถูกริบเงินมัดจำโดยไม่เป็นธรรม เมื่อมีการขอคืนเงินมัดจำบางส่วนแต่ไม่ได้รับคืนอย่างที่ควรจะเป็น หรือบางครั้งอาจผิดสัญญาเงินมัดจำ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ควรได้รับเงินมัดจำคืนบางที่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้รับมัดจำ

การริบเงินมัดจำ

การริบเงินมัดจำได้ จะต้องเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 378 คือ

มาตรา 378 “มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

  1. ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้
  2. ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
  3. ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ”

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาที่ตกลงกันไว้และหากมีการฟ้องร้องกันจริงก็ต้องดูเอกสาร และข้อกฎหมายอื่น ๆ ประกอบกันอีกด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : LINK
 1814
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์