5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง


1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
   เป็นภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์  จะจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า

2. ผู้เสียภาษี คือ 
เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของอาคารชุด  ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นทรัพย์สินของรัฐ   ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีแทนผู้เสียภาษี  เช่น ผู้จัดการมรดก หรือทายาท ผู้จัดการทรัพย์สิน เป็นต้น

3. หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี 
 ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยหน่วยงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บจะส่งแบบประเมินแสดงจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระให้แก่ผู้เสียภาษี

4. วิธีการคำนวณภาษี

- กรณีที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน)
- กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน) มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา)
- กรณีห้องชุด ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี (มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่ ห้องชุด) 


5. ผู้ที่เสียภาษีควรดำเนินการ
  ตรวจสอบบัญชีรายการที่ดินของตนเองให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ทันที ตรวจสอบพื้นที่แบบประเมิน และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.spu.ac.th 
 421
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกมาให้ใช้ กรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์