3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ

3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ


หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
บทความในวันนี้ @TAXBugnoms เลยตั้งใจจะมาพูดถึงวิธีการประหยัดภาษีแบบผิด ๆ ที่ไม่ควรทำว่ามีวิธีไหน อะไรบ้าง 

1. ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย
       วิธีนี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพียงแค่ไม่ต้องจ่ายก็จบแบบง่าย ๆ แล้วครับ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้าหากเราโดนจับได้ขึ้นมา แปลว่าเรากำลังทำผิดกฎหมายอยู่นะครับ ซึ่งมีผลทำให้เราอาจจะต้องเสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับ (ค่าปรับ) และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) สูงถึง 4 เท่าของภาษีที่เราต้องจ่ายกันเลยทีเดียวครับ
บางคนอาจจะบอกว่า ไม่อยากจ่ายภาษี เพราะกลัวว่าภาษีที่จ่ายไปจะไม่ถูกใช้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าตัวเราเองยังทำผิดกฎหมายไปด้วย แบบนี้ก็คงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ?

2. กระจายรายได้แบบผิด ๆ
       นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกันครับ แต่ขอบอกเลยครับว่าวิธีนี้เป็นที่ฮอตฮิตมาก ๆ สำหรับการประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลยทีเดียว วิธีการก็ไม่มีอะไรยาก แค่ไปหาชื่อคนอื่นมารับรายได้แทนเราเพื่อทำให้เราเสียภาษีน้อยลง เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบก้าวหน้า (ยิ่งมีรายได้มากยิ่งเสียในอัตราที่สูงขึ้น) ดังนั้นเมื่อแบ่งกระจายกันไปให้ทั่ว ๆ กัน ก็ย่อมเสียภาษีน้อยลงเป็นธรรมดา แต่ปัญหายังไม่จบครับ เพราะเราอาจเจอเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
 
       ต้องเสียเพิ่ม : คนที่เราแบ่งรายได้ให้ไปนั้นอาจจะมีรายได้อยู่แล้ว อาจจะเป็นว่าต้องเสียภาษีแพงกว่าเดิมก็ได้ แบบนี้ก็คงเป็นปัญหาชีวิตที่วุ่นวายทางหนึ่ง หรือ
 
       โดนจับได้ : ถูกสรรพากรตรวจสอบได้ว่าเป็นการกระจายรายได้เพื่อเลี่ยงภาษี ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะผู้ที่มีรายได้จริง ๆ คือเรา แบบนี้ก็อาจจะทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มในส่วนที่ขาดไปพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเช่นเดียวกันครับ
ดังนั้น ถ้าอยากจะกระจายรายได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องวางแผนให้ชัดเจนและถูกต้อง คือ ตัวผู้มีรายได้เองต้องเป็นคนที่ดำเนินกิจการ รับงานจ้าง หรือทำธุรกิจนั้น ๆ จริง ๆ เพื่อให้มีรายได้ และนั่นคือสิ่งถูกต้องที่เราควรทำครับ

3. สร้างหลักฐานเท็จ
       หลบเลี่ยงรายได้ สร้างค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง โดยวิธีการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อประหยัดภาษีนั้นถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกันครับ เพราะการหลบเลี่ยงรายได้ หรือสร้างเอกสารค่าใช้จ่ายปลอมนั้น มีความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนตรวจสอบภาษี และถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าผิดจริง แบบนี้รับรองครับว่า พี่สรรพากรตามติดไม่มีปล่อยไปอีกนานแน่ ๆ ดังนั้นทางที่ดีอย่างคิดลองดีกว่าครับ


แหล่งที่มา : ขอขอบคุณ TAXBugnoms
 612
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์