13 สิ่งต้องมีในบัญชี ห้ามขาด ห้ามหาย

13 สิ่งต้องมีในบัญชี ห้ามขาด ห้ามหาย

3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้

ปกด้านหน้าของสมุดบัญชีหรือแผ่นหน้าของบัญชี ต้องมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือชื่อทางการค้า
  2. ชนิดของบัญชี
  3. ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิด โดยต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน

บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีและจำนวนเงิน
  2. หน้าบัญชี
  3. รายการในบัญชี

นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดในข้อ 4-6 แล้ว บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีรายการเพิ่มเติมต่อไปนี้ด้วย โดยแยกตามบัญชีได้ดังนี้

บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไป ของเงินสด เงินในธนาคาร

หากมีอยู่ในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันแล้ว จะลงรายการรับ หรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้

บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้า บริการที่ซื้อขาย

หากมีอยู่ในเอกสารประกอบการลงบัญชี จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้น เป็นยอดรวมก็ได้

บัญชีรายวันทั่วไป (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. คำอธิบายรายการบัญชี

บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดที่มาของรายได้หรือค่าใช้จ่าย

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. ชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ รายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีสินค้า เพิ่มเติม ดังนี้

  1. ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปของสินค้า และจำนวนสินค้านั้น 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : www.dharmniti.co.th

 461
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น จะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน และทำอะไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่กระทั่งนักบัญชีมือใหม่เอง
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้
ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์