ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างไร

ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างไร


ส่วนลดจ่าย หรือค่าลดหย่อน การส่งเสริมการขายแคมเปญการขาย Flexi comBo Flash Sale  การขายแบบให้ส่วนลดลูกค้าหลังจากนั้นช่องทางการขายจะโอนส่วนลดที่ให้ลูกค้าคืนกลับให้บริษัท เป็นรายการที่พบเจอได้ตลอดเวลาสำหรับร้านค้า Online  ที่ขายสินค้าบน  MarketPlaces  ต่างๆ 
ทั้งนี้สรรพากรมีหลักการในการออกส่วนลดให้ปรากฎในใบกำกับภาษีไว้ดังนี้

ตัวอย่างการออกใบกำกับภาษี กรณีให้ส่วนลด ตอนขายสินค้าและบริการ

(ก) บริษัท ก.จำกัด ขายรถยนต์กระบะมูลค่า 350,000 บาทได้ให้ส่วนลดแก่ผู้ที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2542 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2542 จำนวน 5,000 บาท บริษัทฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยแสดงมูลค่ารถยนต์กระบะ 350,000 บาท หักด้วยส่วนลด 5,000 บาท คงเหลือมูลค่ารถยนต์กระบะ 345,000 บาท

(ข) นายอำนาจซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้ามูลค่า 5,000 บาทห้างฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยแสดงมูลค่าของสินค้า 5,000 บาท ห้างฯได้แจกคูปองมูลค่า 250 บาท เพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไปโดยไม่จำกัดประเภทสินค้า ถ้าสินค้าชิ้นใหม่มูลค่า 1,000 บาท ห้างฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยแสดงมูลค่าของสินค้า 1,000 บาท หักด้วยมูลค่าส่วนลดตามคูปอง 250 บาท คงเหลือมูลค่าของสินค้า 750 บาท

(ค) ห้างสรรพสินค้าขายสินค้าโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าซื้อสินค้ามูลค่า 100 บาท จะได้รับแสตมป์ 1 ดวง ถ้าสะสมแสตมป์ภายในเวลาที่กำหนด ผู้ซื้อมีสิทธินำแสตมป์ดังกล่าวใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าตามประเภทที่กำหนดได้ เช่น แสตมป์ 50 ดวง มีสิทธิซื้อพัดลมมูลค่า 1,000 บาท โดยชำระเงิน 700 บาท กรณีดังกล่าว ห้างฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยแสดงมูลค่าของสินค้า 1,000 บาท หักด้วยมูลค่าส่วนลดตามแสตมป์ 50 ดวง มูลค่า 300 บาท คงเหลือมูลค่าของสินค้า 700 บาท

(ง) โรงแรม เอ.เอ็ม ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคารเมื่อลูกค้าใช้บริการห้องพักและอาหารมูลค่า 15,000 บาท โรงแรมฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยแสดงมูลค่าของบริการ 15,000 บาท โรงแรมฯมอบบัตรกำนัลให้จำนวน 1,000 บาท ต่อมาลูกค้าใช้บริการภัตตาคาร 3,000 บาท ชำระเงินสด 2,000 บาท และบัตรกำนัล 1,000 บาท โรงแรมฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยแสดงมูลค่าของบริการ 3,000 บาทหักด้วยมูลค่าตามบัตรกำนัล 1,000 บาท คงเหลือมูลค่าของบริการ 2,000 บาท

ตัวอย่างการออกใบกำกับภาษี กรณีให้ส่วนลด หลังขายสินค้าและบริการ

(ก) บริษัท ก.จำกัด ขายเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้งมูลค่า 350,000 บาท มีเงื่อนไขการชำระค่าสินค้าว่า ถ้าชำระภายใน 2เดือน จะลดให้ 2,000 บาท บริษัทฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยคำนวณจากมูลค่า 350,000 บาท

(ข) ห้างสรรพสินค้าขายสินค้าโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าซื้อสินค้ามูลค่า 100 บาท ผู้ซื้อจะได้รับแสตมป์ 1 ดวง ถ้าสะสมแสตมป์ภายในเวลาที่กำหนด ผู้ซื้อมีสิทธินำแสตมป์มารับของรางวัลจากห้างฯตามประเภทที่กำหนด เช่น แสตมป์ 20 ดวง มีสิทธิได้รับชามแก้วมูลค่า 400 บาท ห้างฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยคำนวณจากมูลค่า 400 บาท

อย่างไรก็ดี ถ้าการให้ส่วนลดตามเป้ามีเงื่อนไขว่า จะแจกสินค้าเป็นรางวัลให้แก่ผู้ซื้อสินค้า เฉพาะกรณีซื้อสินค้าในแต่ละวันโดยมีมูลค่ารวมกันตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกำหนด ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าที่แจกเป็นรางวัล ทั้งนี้ ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ตัวอย่าง ถ้าซื้อสินค้ามูลค่า 2,000 บาท ในแต่ละวัน ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับตะกร้า 1 ใบ ห้างฯไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของตะกร้าดังกล่าว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา : Link

 369
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
TAX กับ VAT เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และถือเป็นการเสียภาษีให้กับภาครัฐเหมือนกันหรือไม่? 
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์