sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ย้อนกลับ
1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เป็นภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่
เกษตรกรรม
, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า
2. ผู้เสียภาษี คือ
เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของอาคารชุด ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นทรัพย์สินของรัฐ ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีแทนผู้เสียภาษี เช่น ผู้จัดการมรดก หรือทายาท ผู้จัดการทรัพย์สิน เป็นต้น
3. หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี
ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยหน่วยงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บจะส่งแบบประเมินแสดงจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระให้แก่ผู้เสียภาษี
4. วิธีการคำนวณภาษี
- กรณีที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน)
- กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน) มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา)
- กรณีห้องชุด ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี (มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่ ห้องชุด)
5. ผู้ที่เสียภาษีควรดำเนินการ
ตรวจสอบบัญชีรายการที่ดินของตนเองให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ทันที ตรวจสอบพื้นที่แบบประเมิน และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!
ขอบคุณบทความจาก ::
www.spu.ac.th
ภาษีที่ดิน
สิ่งปลูกสร้าง
อสังหาริมทรัพย์
616
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล
รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
ทำความรู้จักกับ “หนี้สูญ”
ทำความรู้จักกับ “หนี้สูญ”
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้
คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแบบแสดงรายการภาษี
คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแบบแสดงรายการภาษี
ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ต่างกันอย่างไร
ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
ประโยชน์ของการทำบัญชี
ประโยชน์ของการทำบัญชี
การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
ผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำไมต้องตรวจสอบบัญชี
ผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำไมต้องตรวจสอบบัญชี
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com