หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร

หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร


ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจ
จดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย

หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร

หนังสือบริคณห์สนธิ คือตราสารที่ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทได้ตกลงร่วมกันจัดทำขึ้น เอกสารนี้มีไว้เพื่อแสดงให้ทราบถึงจุดประสงค์ในการก่อตั้งบริษัท ว่าจัดตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลใด โดยมีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ก่อตั้ง เช่น ชื่อบริษัท ผู้ก่อตั้ง ที่อยู่ของบริษัท รวมถึงทุนจดทะเบียนบริษัทด้วย ทั้งนี้เพื่อแสดงต่อรัฐ

หนังสือบริคณห์สนธิ สำคัญอย่างไร

เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจหรือการเปิดบริษัทเป็นที่ทราบกันดีกว่าเพื่อสร้างความไว้วางใจ รวมถึงเป็นการยกระดับให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือจะต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล เช่นเดียวกับการยื่นหนังสือบริคณห์สนธินับว่าสำคัญไม่แพ้กันโดยสรุปความสำคัญได้ ดังนี้

  • หนังสือบริคณห์สนธิ เป็นเอกสารที่แสดงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัท
  • เป็นเอกสารสำคัญที่มีความสำคัญในขั้นตอนของการจดทะเบียนบริษัทแบบธรรมดารวมถึงการจดผ่านระบบออนไลน์หรือกล่าวโดยง่ายคือเมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้วขั้นตอนต่อมาคือจะต้องยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ
  • หนังสือบริคณห์สนธิเป็นเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันว่าคุณได้จดทะเบียนบริษัทอย่างสมบูรณ์แล้ว
ด้วยความสำคัญนี้หากว่าคุณอยากเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนของหนังสือบริคณห์สนธิ ตัวเอกสารดังกล่าวของบริษัทชื่อดังถือว่าทำให้คุณมองเห็นถึงความสำคัญของหนังสือฉบับนี้ได้ชัด ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้เพียงใช้คำค้นหาว่าหนังสือบริคณห์สนธิต่อด้วยชื่อบริษัทที่คุณอยากทราบรายละเอียด เช่น หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) คุณจะพบรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งบริษัทดังกล่าว ไล่เลียงเป็นข้อ ๆ เช่น ชื่อบริษัท วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง รายละเอียดผู้ถือหุ้น ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทพร้อมทั้งให้คู่ค้าได้ทำความรู้จักถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งธุรกิจ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของหนังสือบริคณห์สนธิจากบางบริษัทเท่านั้นหากอยากทราบหรือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างของเอกสารสำคัญของบริษัทขึ้นสามารถค้นหาในอินเทอร์เน็ตได้ตามคำแนะนำข้างต้น เพราะเอกสารดังกล่าวจะปรากฏบนหน้าเว็บเปรียบเสมือนฐานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทนั้น ๆ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ขอบคุณบทความจาก : StationAccount
 394
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์