สินค้าคงเหลือ คืออะไร?

สินค้าคงเหลือ คืออะไร?

ความหมายของสินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 

1. สินค้าอยู่จริงและครบถ้วน (Existence and Completeness) สินค้าคงเหลือที่แสดงในงบการเงินต้องมีอยู่จริง และมิได้แสดงมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะยอดตัวเลขของบัญชีสินค้าคงเหลือมีผลต่อการคำนวณต้นทุน เพราะหากสินค้าคงเหลือปลายงวดแสดงไว้สูงเกินจริง จะทำให้กิจการแสดงกำไรสุทธิสูงเกินจริงด้วย ดังนั้นการมีอยู่จริงของสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้ตรวจสอบต้องเน้น โดยเฉพาะหากกิจการมีการเก็บสินค้าไว้หลายแห่ง หรือมีความเสี่ยงที่สินค้าในบัญชีอาจไม่ตรงกับสินค้าตามที่มีอยู่จริง เช่น กิจการเก็บสินค้าในคลังสินค้าของผู้อื่น กิจการขายสินค้าโดยการฝากขาย และกิจการรับฝากขายสินค้า เป็นต้น 

2. กิจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และมีภาระหนี้สินเกี่ยวกับสินค้า (Rights and Obligations) นอกจากการตรวจสอบว่ามีสินค้าอยู่จริงหรือไม่ ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบให้ทราบว่ากิจการมีกรรมสิทธิ์ ในสินค้าที่ปรากฏในงบการเงินด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกิจการมีสินค้าระหว่างทาง สินค้าฝากขาย และสินค้าสั่งทำ จะต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวังในเรื่องกรรมสิทธิ์ นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบว่ากิจการมีภาระที่ต้องชำระสินค้าหรือไม่ 

3. การวัดมูลค่าสินค้าในงบการเงิน (Valuation) การตรวจสอบว่ามูลค่าที่นำมาแสดงในงบการเงินถูกต้องตามที่ควรนั้น ผู้ตรวจสอบควรตรวจสอบ ประเด็นต่างๆ ดังนี้ 

1) วัตถุดิบที่ซื้อและวัสดุคงเหลือ แสดงด้วยราคาทุนที่ซื้อจากผู้ขาย หักด้วยประมาณจำนวนที่จะได้ลดราคา และเพิ่มด้วยค่าขนส่งที่ต้องจ่าย 
2) ระบบบัญชีต้นทุนมีความเหมาะสมในการโอนราคาวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายโรงงานไปคิดเป็นต้นทุนการผลิต 
3) ระบบบัญชีต้นทุนมีความเหมาะสมในการแสดงต้นทุนการผลิต และทำให้การคำนวณราคาสินค้าระหว่างผลิตเหมาะสม 
4) กิจการได้ใช้วิธีการบัญชีที่รับรองทั่วไปในการโอนต้นทุนต่างๆเข้าเป็นต้นทุนผลิต 
5) สินค้าคงเหลือต้องมีการตีราคาตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเฉพาะสินค้าที่ขายได้ช้า และล้าสมัยควรแสดงราคาในงบการเงินไม่สูงกว่ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ 

4. การแสดงรายการสินค้าคงเหลือในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล (Presentation and Disclosure) สินค้าคงเหลือต้องแสดงในงบดุลเป็นรายการหนึ่งต่างหากภายใต้สินทรัพย์หมุน เวียน และมีรายละเอียดสินค้าคงเหลือประเภทต่างๆไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบและวัสดุ ส่วนวัสดุโรงงานอาจแสดงรวมกับวัตถุดิบหรือรวมเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก็ได้ นอกจากนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินให้แสดงหลักเกณฑ์การตีราคา วิธีบัญชีสินค้าคงเหลือ และหากมีสินค้าคงเหลือถูกใช้เป็นหลักประกันหนี้สินต้องแจ้งภาระผูกพันนี้ไว้ ด้วย 

ทความโดย :www.daosilp.com
 764
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์