การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ

การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ


1.มีแผนกจัดซื้อป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้องกับ


1.1 การบัญชีทั่วไป

1.2 การทำบัญชีสินค้า

1.3 การรับของ

1.4 การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

1.5 การจ่ายเงินให้เจ้าหนี้

2. การซื้อกระทำโดย

2.1  

2.2 การจัดซื้อแต่ละครั้ง แผนกผลิตและคลังเป็นผู้เสนอแนะเกี่ยวกับชนิดและ ปริมาณของสินค้าที่จะซื้อ

2.3 สั่งซื้อจากรายการราคาขายของผู้ขายที่ได้รับการอนุมัติ

2.4 มีการเปรียบเทียบราคาจากผู้ขายหลายแห่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด

2.5 ใบสั่งซื้อทำขึ้นโดย

- เรียงลำดับหมายเลขไว้ล่วงหน้า

- มีการอนุมัติการสั่งซื้อ

2.6 สำเนาใบสั่งซื้อได้ส่งไปยัง

- แผนกบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำใบสำคัญสั่งจ่าย

- แผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจรับของ

2.7 ใบรับของแสดงจำนวนที่นับได้จริง พร้อมทั้งลายเซ็นผู้ตรวจรับอย่างน้อย 2 คน

2.8 ในใบรับของได้ระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ในกรณีที่จะต้องมีการทดสอบคุณภาพใน ภายหลัง

2.9 ของที่มีคุณภาพพิเศษ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบจากผู้ที่มีความชำนาญใน เรื่องนั้นโดยเฉพาะ

2.10 ใบรับของที่มีเลขที่เรียงลำดับและมีสำเนาส่งให้

- แผนกบัญชี เพื่อเก็บไว้กับใบสั่งซื้อ

- แผนกจัดซื้อ เพื่อติดตามรายการที่สั่งซื้อแล้ว แต่ยังไม่ได้รับของ

- แผนกคลังสินค้า เพื่อบันทึกบัญชีพัสดุคงเหลือ

- เก็บไว้ที่แผนกรับของ หรือเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตรวจรับของ

3. เมื่อมีการคืนของ จะจัดการโดยแผนกคลังสินค้าและแผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจรับของ

3.1 ติดต่อเพื่อขอใบลดหนี้

3.2 แผนกจัดซื้อและบัญชีได้รับแจ้งเรื่องราวการคืนสินค้า

4. การตรวจสอบ

4.1 ใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี จากผู้ขายได้ตรวจสอบกับเอกสารเหล่านี้ก่อนจ่ายเงิน

- ใบสั่งซื้อ

- การรับของ

- รายงานการตรวจสอบคุณภาพ (ถ้ามี)

4.2 แผนกบัญชีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ

- การสั่งซื้อ

- การรับของ

4.3 มีหลักฐานแสดงว่ามีการตรวจสอบใบส่งของในเรื่องต่อไปนี้

- ราคา

- ค่าขนส่ง

- การลดราคา หรือข้อโต้แย้งต่างๆ

4.4 ใบสำคัญที่จ่ายเงินแล้ว จะต้องมีการการทำเครื่องหมายเพื่อป้องกันการจ่ายซ้ำ

5. ใบสำคัญสั่งจ่ายจะต้องจัดทำสำหรับการซื้อและค่าใช้จ่ายทุกรายการ

6. ใบสำคัญสั่งจ่ายและเอกสารประกอบทุกฉบับ จะต้องมีเครื่องหมายแสดงว่าได้จ่ายเงิน แล้ว

7. จะต้องมีการตรวจสอบระยะเวลาที่จะต้องจ่ายด้วย เพื่อป้องกันการเบิกจ่ายผิดงวด

8. ใบสำคัญการสั่งจ่ายจะต้องมีการตรวจสอบและอนุมัติ




ทความโดย : www.jarataccountingandlaw.com
 466
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์